Chernobyl Diaries เปิดบันทึกเมืองมรณะ ตามรอยเที่ยวไปในเชอร์โนบิล และ ปรีเปี้ยต   Share

ไปเที่ยวเชอร์โนบิลกันเถิด รู้ไว้ใช่ว่าถึงจะไปหรือไม่ไปดูหนังเรื่องนี้ก็ตามที่ เผอญอ่านไปเจอรูปเกี่ยวกับเชอร์โนบิลก็เลยเอาลงมาให้อ่านกันก่อนไปดูหนัง ว่าแล้วก็เกาะกลุ่มตามกันมาเลย


เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียเชอร์โนบิลกลับมาเป็นที่สนใจของชาวโลกอีกครั้ง(หลายคนอาจรู้จักจากเกมCall of Duty 4:Chernobyl) หลังจากเกิดเหตุสึนามิที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ซึ่งถึงแม้จะอยู่ในระดับ7 ซึ่งเป็นอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุด (ประกาศโดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือ IAEA) แต่ในกรณีของเชอร์โนบิลนั้นร้ายแรงกว่า

ดังนั้นในหนังเราอาจจะเจอตัวประหลาด แต่ในเชอร์โนบิลของจริงปัจจุบันไม่ถึงกับเป็นเมืองร้างเลยซะทีเดียวแต่ยังมีเจ้าหน้าที่ทำงานอยู่ภายในโรงไฟฟ้าดังกล่าว เพราะ เตาปฏิกรณ์ไม่สามารถปิดได้ทันทีเหมือนสวิตช์ไฟบ้าน จึงต้องค่อยๆทำไป

แถมตอนหลังทางยูเครนเริ่มมีเปิดทัวร์ในเขตเชอร์โนบิลแล้ว ซึ่งเริ่มมาช่วงปี2001 จึงมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เป็นไปเช้าเย็นกลับ เพราะไม่ได้ไกลจากกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครนเท่าใดนัก ส่วนใครอ่านแล้วอยากไปเที่ยวก็ได้ แต่ยังไม่สามารถเข้าดูในโรงไฟฟ้าได้ ยังเป็นเขตอันตรายอยู่ ได้แต่ถ่ายรูปในระยะไกลๆ

ขอเปิดตัวการท่องเชอร์โนบิลด้วยสารคดี
THE BATTLE OF CHERNOBYL





ความคิดเห็นที่ 1

อันนี้มีต่อป่ะ รอลงให้ครบก่อน เดี๋ยวอ่านต่อ

ความคิดเห็นที่ 2

มาจะกล่าวบทไปถึงเชอร์โนบิล ก็ควรจะเปิดหนังสือวิชาสังคมควบคู่ไปด้วย เพื่อจะลืมทิศทางข้อมูลกันไปแล้ว

เชอร์โนบิลเป็นเมืองตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศยูเครนซึ่งอยู่ในทวีปยุโรปทางตะวันออก มีพรหมแดนติดกับเบลารุสทางทิศเหนือ ส่วนทิศตะวันตกติดกับสโลวาเกีย,โปแลนด์ และ ฮังการี ส่วนทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับโรมาเนีย และ มอลโดวา

ถ้ายังพอจำกันได้หลายๆประเทศทางยุโรปตะวันออกเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตมาก่อนทั้งสิ้นตั้งแต่ปี1921-1991 หรือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2464-2534 เป็นระยะเวลา 70 ปีด้วยกันที่อยู่หลังม่านเหล็ก หรือที่อดีตประธานธิบดีสหรัฐโรนัลด์ เรแกนเรียกว่าEvil Empire

เพื่อให้เข้าใจที่มาของปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลเลยต้องปูทางด้านสังคมเยอะหน่อยนะ ชาวคณะทัวร์หนังโหด แต่ด้านวิทยาศาสตร์ขอสรุปย่อๆเพราะไม่เก่งวิทย์ฮร่ะ

แผนที่ยูเครน

จะเห็นว่าเมืองเชอร์โนบิล นั้น อยู่ห่างจากพรหมแดนประเทศเบลารุสเพียง16ก.ม. และอยู่ห่างกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน 110 ก.ม.

ความคิดเห็นที่ 3

ส่วนเมืองที่ใกล้ที่สุดคือเมืองปริเปี้ยต Prypiat หรือสะกดPripyat ซึ่งตั้งตามชื่อแม่น้ำ Pripyat แม่น้ำสายนี้มีความยาว710ก.ม. ไหลมาจากยูเครนวกไปเบลารุสและไหลกลับมายูเครนอีกทีก่อนจะไหลไปรวมที่แม่น้ำนีเปอร์ (dnieper) หลังจากเกิดเหตุระเบิดทำให้มีซีเซียม137ไหลไปปะปนในแม่น้ำด้วย

โดยทั้งเมืองปริเปี้ยตและเมืองเชอร์โนบิลนั้นตั้งอยู่ในจังหวัดKiev Oblast ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเคียฟ เมืองหลวงของประเทศนั้นเอง

จากรูป สองเมืองนี้ห่างกันเพียง18 ก.ม.

ความคิดเห็นที่ 4

ในสมัยที่ยูเครนยังร่วมกับรัสเซีย เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต โดยเป็นผลมาจากช่วงยุคสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ราวๆปี1947-1991 ซึ่งเป็นช่วงที่ทางสหรัฐและสหภาพโซเวียตแข่งขันกันเพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ทั้งในด้านทหาร อาวุธ จารกรรม เศรษฐกิจ และ เทคโนโลยีทางอากาศ(ที่มีการส่งยูริ กาการิน มนุษย์คนแรกของโลกที่ขึ้นไปโคจรรอบโลก กับเจ้าหมาไลก้า แล้วสหรัฐจึงส่งนีล อารม์สตรองไปเหยียบดวงจันทร์ และเราก็มีเกมTetris ฮ่า)

เมื่อมีการแข่งขันกันทุกด้าน ทางสหภาพโซเวียตจึงต้องการขยายสาธารณูปโภคพื้นฐานด้วย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการริเริ่มใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของโลก คือ Obninsk APS-1 ตั้งอยู่ที่เมืองออบนิสค์ซึ่งเป็นเมืองด้านวิทยาศาสตร์ของรัสเซีย อยู่ห่างจากกรุงมอสโกไปทางตะวันตกเฉียงใต้110 ก.ม.

เริ่มใช้งานครั้งแรก26 มิ.ย. 1954 และเลิกใช้งานเมื่อ 29 เมย 2002

แผนการที่จะขยายการใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่เป็นไปตามแผน เพราะ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แบบRBMK นั้นก็ยังไม่ได้ปลอดภัยเหมือนเตาสมัยหลังๆทำให้โรงไฟฟ้าหลายแห่งจำเป็นต้องฝืนอายุใช้งาน

เช่นโรงไฟฟ้าออบนิสค์ที่ต้องปิดตัว1984 ต้องยืดเวลามาถึง18ปี

จากรูปโรงไฟฟ้าออบสนิสค์

http://zyalt.livejournal.com/131563.html

ความคิดเห็นที่ 5

จะพาไปเรื่อยๆ รู้สึกข้อมูลเยอะนะฮร่ะชาวคณะ

เตาปฏิกรณ์ที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออบสนิคส์ถือเป็นต้นแบบที่ทำให้เกิดเตารุ่น RBMK (Reaktor Bolshoy Moshchnosti Kanalniy หรือแปลว่า High Power Channel-type Reactor")

โดยมีการหล่อเย็นด้วยน้ำ และมีแชเนลแกรไฟต์ ซึ่งในช่วงยุคปลาย1979-1990 ระบบนี้มีการใช้อย่างแพร่หลายมาก นั้นคือรุ่น RBMK-1000 เป็นรุ่นเดียวกันที่ระเบิดไปในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล


จากรูปเตาแบบRBMK

ความคิดเห็นที่ 6

ศัพท์ยากเราพักไว้ก่อน

มาดูเรื่องเมืองเชอร์โนบิลกันดีกว่า

คำว่าเชอร์โนบิล เป็นภาษายูเครนที่แปลว่า ต้นwormwood ซึ่งเริ่มเป็นเมืองตั้งแต่ปี1193เรื่อยมาในช่วงก่อนศตวรรษที่19 บริเวณเมืองนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวยูเครน ชาวโปแลนด์ที่มีฐานะยากจนบางส่วน และมีชาวยิวอาศัยอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ก่อนจะถูกกวาดล้างในช่วงยึดครองโดยนาซี

และต่อมาช่วงปี1964 ทางสหภาพโซเวียตเลือกเชอร์โนบิลเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นแห่งแรกในยูเครน

โดยเมืองเชอร์โนบิลใช้เป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้า ส่วนเจ้าหน้าที่และพนักงานก็จะไปพักที่เมืองปริเปี้ยต


จากรูป โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลสมัยยังทำงานได้อยู่

ความคิดเห็นที่ 7

ขอบคุนงับ สำหรับ สาระความรู้

ความคิดเห็นที่ 8

อีกเมืองที่เราควรจะรู้จักก็คือ ปริเปี้ยต

เมืองนี้จะแตกต่างจากเมืองเชอร์โนบิล คือ เป็นเมืองที่สร้างใหม่ในปี1970 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลมาอาศัยอยู่

ตอนนี้คงมีคนสงสัยว่ากะอีแค่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์พี่โซเวียตต้องลงทุนสร้างเมืองใหม่ มีทุกอย่างพร้อมเลยหรือ ต้องให้ย้อนกลับไปนึกถึงช่วงสงครามเย็น ซึ่งแข่งขันกันทุกด้านกับอเมริกา

ประชากรจำนวนมากในสหภาพโซเวียตจำต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก โซเวียตเห็นว่านิวเคลียร์นั้นราคาถูกและปลอดภัย จึงมีการนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า ยุคก่อนเหตุการณ์เชอร์โนบิล สโลแกนว่า"Peaceful Atom"หรือ mirnyj atom หรือปรมาณูเพื่อสันติ

การนำพลังงานปรมาณูที่เคยปลิดชีพชาวเมืองฮิโรชิม่า และ นางาซากิ มาปรับใช้ในด้านสันติ ซึ่ง2ประเทศมหาอำนาจสมัยนั้นก็แข่งกัน ในช่วงแรกของสงครามเย็นจะสังเกตได้ว่าสหภาพโซเวียตก้าวนำหน้าอเมริกาในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่1ก้าว ความสำเร็จของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงเป็นชัยชนะด้านวิศวกรรมศาสตร์ของโซเวียตด้วย



ดูจากคลิปส่องประกายโซเวียตมากๆ ดูเป็นเมืองในฝันจริงๆ

ความคิดเห็นที่ 9

ได้สาระและความรู้ไปด้วยเลย ;)

ความคิดเห็นที่ 10

เมืองนี้เนื่องจากไม่ใช่เมืองสำคัญทางการทหารจึงไม่ใช่เขตหวงห้าม นอกจากนี้ยังเป็นทางรถไฟสายหลักและการขนส่งทางน้ำที่สำคัญของภาคเหนือของยูเครนด้วย

เมืองปริเปี้ยตเป็นเมืองอย่างเป็นทางการปี1979หรือ7ปีก่อนการระเบิดเท่านั้น ถนนหลายสายส่วนใหญ่ตั้งชื่อตามบุคคลสำคัญในยูเครน หรือตามวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงมีถนนชื่อ Igor Kurchatov ที่ตั้งชื่อตามบิดาแห่งระเบิดปรมาณูชาวโซเวียต

เลยเลือกรูปหล่อๆของคุณทวดมาลง คนนี้แหละเป็นส่วนหนึ่งในการคิดค้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของโซเวียต

ความคิดเห็นที่ 11

ในปริเปี้ยตมีทุกอย่างทั้งโรงหนัง สระว่ายน้ำ สภาเมือง ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน

ในระยะเวลาไม่ถึง20ปี เมืองนี้มีประชากรถึง49,400 คนโดยประมาณ ในพื้นที่ทั้งหมด658,700 ตรม. มีอพาร์เมนท์13,414 หลัง (โฮ้!)แบ่งเป็น160บล็อก
ซึ่งมีแยกเป็นที่พักชายโสดถึง18อาคาร พักได้โดยประมาณ7,621คน

และสำหรับคู่แต่งงานอีก8อาคาร

นับว่ามหึมามากๆสำหรับเมืองที่เพิ่งเริ่มเมื่อปี1970


รูปของเมืองสมัยเริ่มก่อตั้ง จากเว็บpripyat.com

ความคิดเห็นที่ 12

คู่แต่งงานใหม่ถ่ายรูป

ความคิดเห็นที่ 13

แล่นเรือก็มี

ความคิดเห็นที่ 14



ชาวคณะทัวร์คงมีคำถามในใจว่าช่วงก่อนระเบิดไม่ถึง20ปี ทำไมเมืองนี้มีประชากรเกือบ5หมื่นคน

คำตอบ คือ มีโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลที่เป็นแหล่งงานหลักๆของคนที่เมืองนี้ที่มีอายุเฉลี่ยคือประมาณ 26 ปี

นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนประถม 15 แห่งที่รองรับนักเรียนถึง5พันคน โรงเรียนมัธยม 5 แห่ง และโรงเรียนฝึกอาชีพอีก 1 แห่ง

ยังมีร้านค้าและห้างสรรพสินค้าร่วมกันถึง25แห่ง และยังมีแหล่งงานอีกคือโรงงาน4แห่ง

ที่ออกกำลังกายพักผ่อนหย่อนใจมีพร้อม นับเป็นเมืองเล็กๆที่คนโซเวียตหลายคนเฝ้าถวิลหา นอกจากจะทันสมัยเพรียบพร้อม เงินเดือนยังดีอีกต่างหาก


ในคลิปบอกว่าที่นี้เป็นแหล่งรวมตัวของคนที่เก่งที่สุดของที่สุด ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักดนตรี และอีกหลายอาชีพ


ความคิดเห็นที่ 15

รูปเมืองสมัยก่อนระเบิดหายาก คาดว่าเป็นเพราะตอนอพยพทางการบอกว่าไม่นานก็จะได้กลับหลายคนจึงเก็บของไปไม่มาก ภาพต่างๆเลยไม่ค่อยมี

ความคิดเห็นที่ 16

อ่านเรื่องย่อเรื่องChernobyl Diariesแล้วก็ไม่อินเท่าไหร่

ที่บอกว่าพวกตัวละคร ไปทัวร์ไกด์เถื่อนแอบลักลอบเข้าไปในเมือง

เพราะเคยดูสารคดี เกี่ยวกับChernobylคือเปิดให้เข้าไปทัวร์ในเมือง

เป็นการท่องเที่ยวเก็บเงินได้เป็นล้ำเป็นสัน ไม่ได้น่ากลัวซักนิดเลยอะ ^^

ความคิดเห็นที่ 17

โรงแรมPolissya ก่อนและหลังจากการระเบิดของเตาปฏิกรณ์ เปรียบเทียบกันดู

โรงแรมนี้เป็นโรงแรมแห่งเดียวและยังเป็นตึกที่สูงที่สุดในเมือง เป็นที่พักของผู้มาเที่ยวเมืองและคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ของโซเวียต

เห็นว่าอยู่ในcall of dutyด้วย

ความคิดเห็นที่ 18

@pea ตอนนี้เปิดหลายทัวร์มาก จริงๆเมืองนี้ไม่น่ากลัวอย่างที่บอกในจั่วหัวอะจ๊ะ คนทำงานในโรงไฟฟ้ายังมี นักท่องเที่ยวมีแต่ไม่ได้ค้างคืน ตอนนี้ดีขึ้นเพราะมีการครอบโรงไฟฟ้าแล้ว ในเขตกักกันก็ยังมีคนกลับมาอยุ่ส่วนใหญ่เป็นคนแก่ประมาณ70-80ปีขึ้น ประมาณไม่กลัวตาย เพราะใกล้ตายอยู่แล้ว แต่จะอยู่ในเมืองรอบๆปริเปี้ยตหรือชายแดนเบลารุส

ภาพงานในสมัยยังรุงเรือง

ความคิดเห็นที่ 19

ปาดขวาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
เข้ามาติดตามด้วยคนจ๊ะ ชอบๆๆๆๆๆ
อยากไปเที่ยวจังๆๆๆๆๆๆ Chernobyl

ความคิดเห็นที่ 20

กลับมาดูที่โรงไฟฟ้ากันอีกดีกว่า

แรกเริ่มเดิมที่ทางโซเวียตจะให้สร้างโรงไฟฟ้าใกล้เมืองเคียฟ แต่ทางคณะกรรมการฝั่งยูเครนเห็นว่าอาจไม่ปลอดภัยหากสร้างใกล้เมืองหลวง จึงหาที่ที่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล หวยจึงมาตกที่เมืองเชอร์โนบิลระยะเวลาเพียงแค่2ชั่วโมง จากเคียฟถึงเมืองเชอร์โนบิล

ตัวเมืองปริเปี้ยตเริ่มสร้างตั้งแต่ปี1970 ส่วนตัวโรงงานและเตาปฏิกรณ์หมายเลข1เริ่มใช้ในปี1977 ซึ่งทำให้โรงงานแห่งนี้เป็นการใช้เตาปฏิกรณ์รุ่น RBMK-1000 เป็นโรงที่ 3 นับจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์Leningrad และ Kursk

ความคิดเห็นที่ 21

ผมเคยดูสารคดีนำเที่ยว Chernobyl ด้วยนะเเว่นจัง มีหลายคลิปด้วยล่ะ หนุกหนานมากกกกกกกกกกกก

ปอลิง. พูดเเล้วอยากดูหนังเร็วๆๆๆๆๆๆ ^^

http://www.youtube.com/watch?v=101OEaksU0s&feature=fvwrel

ความคิดเห็นที่ 22

@samara17520 จริงๆอยากไปยูเครนกับรัสเซีย แต่ทัวร์แพงงงงงงง จำได้ว่าตอนประถมอ่านเรื่องนี้ในนิตยสารเล่มหนึ่ง แล้วเห็นภาพเด็กๆอายุไล่เลี่ยกันพิการ ร้องไห้โฮเลย ปวดใจมาก

เตาหมายเลข2สร้างเสร็จปี1978 หมาย3ปี1981 และเตาหมายเลข4 ปี1983

ความคิดเห็นที่ 23

ส่วนเตาหมายเลข5และ6 ก็สร้างอยู่ โดยเตาหมายเลข5มีกำหนดแล้วเสร็จและเปิดใช้วันที่7 พฤศจิกายน 1986 เสร็จไปกว่า70%แล้ว

แต่ก็หยุดการสร้างไว้ในวันที่ 1 มกราคม 1988เป็นโครงการค้างเติ่งและคงไม่มีใครการทำต่อด้วย

ความคิดเห็นที่ 24

มีต่อนะ ไปพักก่อน

ความคิดเห็นที่ 25

จ๋าจ๊ะๆๆๆ รออ่านพรุ่งนี้ง่าๆๆๆๆ ง่วงเเย้วว อิอิ ^^

ความคิดเห็นที่ 26

รอฟังบรรยายพรุ่งนี้น้า เราชอบเรื่ืองเชอร์โนบิลมาก

เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นมาก คนมากมายต้องล้มตายและป่วยเพราะโดนรังสี น่าสงสารมากอ่าเห็นภาพแล้วอย่างสลด

แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นบทเรียนที่ดีสำหรับมนุษยชาติเรื่องการใช้นิวเคลียร์ให้ปลอดภัยขึ้น

แต่ก็นะ ขนาดญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเรื่องความปลอดภัย เจอภัยธรรมชาติอย่างสึนามิไป ป้องกันขนาดไหนก็เอาไม่อยู่

ความคิดเห็นที่ 27

กำลังจะมาต่อ เนื่องจากความรู้ด้านวิทย์เท่าหางลูกอ๊อด ใครเรียนด้านนี้มา จะช่วยอธิบายก็ดีนะฮร่ะ

-----------------------------------
พยายามหาภาพในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลก่อนเกิดการระเบิด ไม่ค่อยมี งั้นเอาที่ใกล้เคียงไปดูกันนะ

โรงงานนิวเคลียร์ครุสค์ (Kursk) เป็นเมืองที่เคยเป็นสนามรบรถถังอันดุเดือดมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่2ระหว่างเยอรมันกับรัสเซีย นอกจากนี้ยังเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่จมในทะเลก็ตั้งชื่อตามเมืองนี้ (จำข่าวได้ป่าว ตายเย็นยกลำเลยที่ทะเลเบเรนต์ สาเหตุน่าจะมาจากตอร์ปิโดท้ายเรือ)

ห้องที่เก็บไฟฟ้านิวเคลียร์ มีประตูเหล็กกั้น

ความคิดเห็นที่ 28

มีไฟด้วย

ความคิดเห็นที่ 29

แต่นแต๊น โฉมหน้าเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นRBMK-1000

ความคิดเห็นที่ 30

ดูเหมือนของเล่นมากๆ

จุดฟ้า คือ neutron sources
จุดเหลือง คือ แท่งควบคุมที่สอดข้างใต้เตา
จุดสีเทา คือ แท่งความดัน
จุดสีเขียว คือ แท่งควบคุม
และ สีแดง คือ แท่งควบคุมอัตโนมัติ

คือความหมายของจุดสีบนเตา

ความคิดเห็นที่ 31

อันนี้น่าจะเป็นกระบอกเชื้อเพลิง สีเหลืองๆ

ความคิดเห็นที่ 32

ที่อยู่ใต้เตาคือแกรไฟต์ แล้วมีน้ำและทรายล้อมรอบด้วย

ความคิดเห็นที่ 33

เตาปฏิกรณ์RBMK-1000,1500

ถือว่าเป็นรุ่นเดียวกับเจ้าเตาที่4 ที่ระเบิดที่เชอร์โนบิล

ปัจจุบันโรงฟ้านิวเคลียร์ที่ครุสค์ เลนินกราด และ สโมเลนสค์ ก็ยังใช้งานอยู่


ส่วนสาเหตุที่หลายแห่งยกเลิกการก่อสร้างไป คือ งบประมาณไม่พอ เนื่องจากหลังจากเหตุการณ์เชอร์โนบิลไม่นานโซเวียตก็ล่มสลาย

ความคิดเห็นที่ 34

มีเครื่องตรวจรังสีด้วย

ความคิดเห็นที่ 35

ห้องควบคุม

ความคิดเห็นที่ 36

มาดูอีกที่ โรงไฟฟ้าสโมเลนสค์

เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซีย

และเป็นแหล่งงานของคนในเมืองเดสโนกอรสค์ (Desnogorsk) ว่ากันว่า3ใน4ของประชากรในเมืองทำงานในโรงไฟฟ้าแห่งนี้

ความคิดเห็นที่ 37

กระดาษดักฝุ่น แบบเดียวกับที่โรงงานหลายๆแห่งในบ้านเราใช้

ความคิดเห็นที่ 38

มื้ออาหารในโรงไฟฟ้า

ความคิดเห็นที่ 39

มีงานสถาปัตยฯสมัยโซเวียตยังรุ่งเรืองของในรูป คือ
วลาดิเมียร์ เลนิน

ความคิดเห็นที่ 40

พาไปอ้อมหลายที่กลับมาที่เชอร์โนบิลจังกันอีกรอบ

หลังจากพูดถึงว่าเตาหมายเลข4สร้างเสร็จเมื่อปี1983

และเตา5และ6จะตามในปี1986

หารูปได้เพิ่มจากเว็บpripyat.com เพิ่งเจอแบบภาษาอังกฤษ

รูปนี้ยังกับมาถ่ายแบบลงนิตยสาร

ความคิดเห็นที่ 41

ในห้องควบคุมที่เชอร์โนบิล

ความคิดเห็นที่ 42

นอกจากจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้เองในสหภาพโซเวียตแล้ว พี่เบิ้มโซเวียตยังมีแผนออกเงินให้คิวบาสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฮัวรากัวด้วย

หลังจากวิกฤตการนิวเคลียร์ที่ทำให้ความสัมพันธ์คิวบากับอเมริกาอยู่ในสภาพตึงเครียดมาตลอด พี่เบิ้มโซเวียตจึงเสนอโครงการโรงไฟฟ้าในยุค70 โครงการนี้เริ่มสร้างในปี1983 ในตอนแรกมีแผนว่าจะเปิดทำการในต้นยุค90 โดยมีโซเวียตคอยหาวัตถุดิบให้ แต่ก็เลื่อนโครงการไปเรื่อยๆจนปี1995 เมื่อไม่แน่ใจว่าโรงไฟฟ้าจะเปิดทำการได้เมื่อไร รัฐบาลจึงยุติโครงการดังกล่าว

สาเหตุหลักๆ คือ โซเวียตล่มสลายไม่มีเงินทุน

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฮัวรากัว

ความคิดเห็นที่ 43

การก่อสร้างเชอร์โนบิล เป็นช่วงปลายๆยุคสงครามเย็นแล้วทั้งอเมริกาและโซเวียตต่างหมดเงินไปมากกับโครงการทางวิทยาศาสตร์ต่างๆบ้างก็สำเร็จ บ้างก็ล้มเหลว ซึ่งแต่ละโครงการต้องใช้งบประมาณประเทศเป็นจำนวนมาก

ความคิดเห็นที่ 44

ปัจจุบันในรัสเซียก็ยังใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่นอกจากรุ่นRBMKแล้วยังมีรุ่นVVER หรือWWER (Vodo-Vodyanoi Energetichesky Reactorภาษาอังกฤษ Water-Water Power Reactor)

เตาปฏิกรณ์ที่ใช้พลังน้ำ ซึ่งรุ่นนี้ใช้ในฮังการี จีน ฟินแลนด์ อินเดีย ยูเครน บัลกาเรีย โรมาเนีย อาร์เมเนีย และสาธารณรัฐเช็ค


ความคิดเห็นที่ 45

ก่อนหน้าการระเบิดของเตา4ในปี1986 ก็เคยมีอุบัติเหตุมาแล้วกับที่เชอร์โนบิล

ปี1982 เกิดการหลอมละลายบางส่วนของแกนกลางที่เตาหมายเลข1 ข่าวถูกปิดเป็นความลับจนซ่อมเตาที่1เสร็จและกลับมาใช้งานปกติอีกครั้งในปี1985

ก่อนจะเกิดเหตุร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติในอีกประมาณ1ปีถัดมา...

ความคิดเห็นที่ 46



ภาพจำลองการระเบิดในเตาหมายเลข4

ความคิดเห็นที่ 47

ส่วนเรื่องที่จะเกิดขึ้นต่อไปคิดว่าหลายคนคงอ่านผ่านตามาแล้ว ขอสรุปสั้นตามประสาคนไม่สันทัดเรื่องวิทย์

ต้นเหตุก่อนการระเบิดที่เกริ่นไปตั้งแต่หัวเรื่อง และพูดซ้ำย้ำบ่อยๆ คือ รัฐบาลโซเวียตต้องการพัฒนาพลังงานงานนิวเคลียร์อย่างมาก จึงมีการเร่งให้สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้ผุดขึ้นมาอย่างดอกเห็ดในช่วงตั้งแต่ทศวรรษที่1970เป็นต้นมา การสร้างโรงไฟฟ้าก็ไม่ยาก แต่ที่ยากคือการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ได้มาตรฐานในเวลาจำกัด เจ้าเตารุ่นRBMKนั้นพัฒนามาจากตัวต้นแบบที่โรงไฟฟ้าออบนิสค์ การจะนำอะไรมาใช้นอกจากออกแบบแล้วยังต้องมีการทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาด แก้ไขข้อผิดพลาด ทว่ารุ่นนี้กลับมีข้อผิดพลาดและผลของการรีบนำมาใช้จนขาดการทดสอบและตรวจสอบอย่างละเอียด ส่งผลร้ายต่อทุกคนที่เกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จุดอ่อนสำคัญ คือ ระบบไฟฟ้าสำรองในกรณีฉุกเฉินของระบบหล่อเย็น

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในปัจจุบันมองจากตึกที่เมืองปริเปี้ยต

ความคิดเห็นที่ 48

ระบบหล่อเย็นต้องทำงานตลอดเวลา ถ้าไฟฟ้าดับจะมีการใช้เครื่องปั่นไฟดีเซล3ตัวมาปั่นไฟแทนไฟฟ้าที่ได้จากโรงไฟฟ้า แต่กว่าจะปั่นไฟให้ได้กำลังพอที่ระบบหล่อเย็นจะใช้ กลับใช้เวลานานถึง60-75 วินาที ทั้งที่จริงควรใช้เวลา15วินาที

ช่องว่างที่ห่างถึง1นาที ทำให้ต้องคิดวิธีแก้ปัญหาซึ่งมีการเสนอว่าควรใช้พลังงานจากกังหันที่ยังมีการหมุนอยู่ นำพลังดังกล่าวมาใช้แทนประมาณ45วินาที ก่อนที่เครื่องปั่นไฟดีเซลจะทำงานได้เต็มกำลัง

แนวคิดดังกล่าวเป็นแค่ทฤษฎีในการแก้ปัญหายังไม่มีการทดสอบจริงๆว่าใช้ได้ผลหรือไม่

และการทดสอบครั้งแรกในปี1982 ก็ล้มเหลวเนื่องจากพลังงานจากังหันไม่เพียงพอจึงมีการทดสอบซ้ำอีกปี1984 และครั้งที่3 ในปี1985 แต่ไม่ประสบความสำเร็จซักครั้ง

จึงมีการทดลองอีกครั้งปี1986 กับเตาปฏิกรณ์หมายเลข4ที่ปิดซ่อมแซมอยู่

ความคิดเห็นที่ 49

ในวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 1986

จะมีการทดสอบกันอีกครั้งในรอบที่ 4 ตอนช่วงเช้ามืด แต่ว่าเกิดปัญหาที่สถานีไฟฟ้าของเคียฟ จึงเลื่อนการทดสอบไปก่อน

ปกติแล้วการทำการทดสอบจะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กะกลางวัน ในขนาดที่กะกลางคืนมีหน้าที่ดูแลระบบหล่อเย็นของความร้อนจากการสลายตัว และการปิดเครื่อง

และต่อมาเกิดกระแสไฟกระชาก จนปิดเครื่องไปแล้ว1รอบ ก่อนจะทดสอบใหม่ช่วงเวลาตี1 แต่การที่Coreเพิ่งปิดไป เปิดใหม่ยังไม่เสถียร ระบบหล่อเย็นไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ มีการเลื่อนแท่นควบคุมลงมาสุดเพื่อไม่ให้เกิดปฏิกริยานิวเคลียร์ แท่นดันกล่าวมีแกรไฟต์อยู่บริเวณหัวและเคลื่อนที่ได้ช้าจึงทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น

ส่งผลให้สารหล่อเย็นระเหยจนหมดและเกิดไอน้ำพลังมหาศาลพวยพุ่งดันจนฝาเตาปฏิกรณ์หนัก2พันตันออกไป ส่วนตัวเตาไม่มีอาคารครอบคลุมขนาดหนาแต่อย่างใด กัมมันตภาพรังสีจึงออกมาโดยตรงและต่อมาเพียงแค่2วินาที ก็เกิดระเบิดครั้งที่สองซึ่งมาจากปฏิกริยานิวเคลียร์ และหายนะก็เริ่มทำหน้าที่นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ไม่มีใครรู้ว่าทำไมถึงต้องทำการทดลองในกะกลางคืน
ไม่มีใครรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นก่อนการระเบิด

เนื่องจากคนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวโดยตรงเสียชีวิตทันทีหลังจากการระเบิด และอีกหลายคนเสียชีวิตตามมาในเวลาไม่กี่วัน


ภาพแผงควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข4ถ่ายเมื่อ14 เมษายน ปี1998

ความคิดเห็นที่ 50

ภาพถ่ายทางอากาศของโรงไฟฟ้าแรงระเบิดถึงกับทำลายโรงไฟฟ้าที่ติดตั้งเตาหมายเลข4ซะเละเทะ

ความคิดเห็นที่ 51

หลังจากเกิดการระเบิดขึ้นหน่วยดับเพลิงประจำโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลเป็นหน่วยแรกที่มาถึงที่เกิดเหตุ นำทีมโดยร้อยโทVolodymyr Pravik

ในตอนที่ไปถึงอาคารเตาปฏิกรณหมายเลข4 ทีมของร้อยโทปราวิกนึกว่าเป็นแค่ไฟไหม้ธรรมดา หารู้ไม่ว่าพวกเขาเป็นคนเป็นๆกลุ่มแรกที่สัมผัสกัมมันตภาพรังสีอย่างรุ่นแรง "ผมไม่รู้ว่านั้นคือเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ไม่มีใครบอกพวกเราเลย"

รูปร้อยโทโวโลดิเมียร์ ปราวิก

เขาขึ้นไปดับไฟบนหลังคายูนิตซี เลเวล71 เพื่อดับไฟที่ลุกไหม้แก่นของเตาปฏิกรณ์

ผลคือทีมดับเพลิงของเขาทุกคนเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ทุกคน ตัวเขาถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงมอสโค ว่ากันว่าตาสีน้ำตาลของเขาเปลี่ยนเป็นสีฟ้าเนื่องจากได้รับรังสีโดยตรงในปริมาณมาก
เขาเสียชีวิตด้วยอาการเจ็บป่วยจากการได้รับรังสีอย่างเฉียบพลัน

และได้ยกย่องให้เป็นวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวีตย ซึ่งถือเป็นเหรียญกล้าหาญสูงสุดที่จะสามารถมีได้

ถ้าจำไม่ผิดในทีมนี้ เคยดูสารคดีเล่าว่าทุกคนรู้สึกได้ถึงรสชาติของเหล็กเต็มปาก หลังจากนั้นใบหน้าเริ่มชาเหมือนถูกเข็มนับพันเล่มทิ่มแทง...

ความคิดเห็นที่ 52

ร้อยโทปราวิกอายุเพียง24ปีเท่านั้นในวันที่เขาเสียชีวิต โดยอาการก่อนเสียชีวิตนั้นทรมานมาก ตัวของเขาและคนอื่นๆในทีม มีอาการผิวหนังไหม้จากการสัมผัสรังสีโดยตรง และยังส่งผลต่อต่อมน้ำลายทำให้มีอาการปากและคอแห้งผากอยู่ตลอดเวลา และยังมีอาการปวดร่างกางอย่างมากถึงขนาดฉีดมอร์ฟีนยังไม่สามารถระงับอาการปวดได้

เมื่อเสียชีวิต ศพเขาถูกฝังอยู่ในโลงปิดอย่างแน่หนา

ในรูปเป็นแม่กับญาติของเขา เมื่อวันครบรอบเหตุการณ์เชอร์โนบิลปีที่แล้วที่กรุงมอสโค

ความคิดเห็นที่ 53

ตารางเวลาที่เกิดเหตุ
เวลา
ตี 1.26 – สัญญาณไฟไหม้ดัง
ตี 1.28 – หน่วยดับเพลิงประจำโรงไฟฟ้ามาถึง(ทีมของร้อยโทปราวิก)
ตี 1.35 – หน่วยดับเพลิงจากเมืองปริเปี้ยตมาถึง
ตี 1.40 – หัวหน้าหน่วยดับเพลงประจำโรงไฟฟ้ามาถึง
ตี 2.10 – ดับเพลงที่หลังคาห้องใบพัดได้สำเร็จ
ตี 2.30 – ควบคุมเพลิงบนหลังคาเตาหลักไว้ได้
ตี 3.30 – หน่วยดับเพลิงจากกรุงเคียฟมาถึง
ตี 4.50 – ควบคุมเพลิงได้เกือบหมด
6.35 – ดับไฟได้หมด

แต่ไฟยังไหม้ในตัวเตาหมายเลข4 เป็นเวลาหลายวัน

ความคิดเห็นที่ 54

ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวโดยตรงจากทั้งได้รับรังสีมีประมาณ36คน รวมถึงเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตกหลังจากบินชนสายเคเบิลด้วย เช่น

Alexander Akimov วิศวกรผู้ควบคุมงานซึ่งในตอนแรกให้เป็นแพะรับบาปหายนะทั้งหมดที่เกิดขึ้น จากการสอบสวนพบว่าAnatoly Dyatlov ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิศวกรซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่สั่งให้ตัวเขาทำการทดสอบเตาหมายเลขที่4 ทั้งที่เขาเห็นว่าทำไปอาจเกิดอุบัติเหตุได้ หลังจากเกิดระเบิดตัวอาคิมอฟและทีมพยายามควบคุมเตาที่4 และตัวเขาเสียชีวิตจากอาการป่วยที่ได้รับรังสีมากเกินไป หลังจากนั้น2สัปดาห์

ความคิดเห็นที่ 55



เฮลิคอปเตอร์พร้อมเจ้าหน้าที่4นายที่ส่งไปดับไฟในตัวเตาที่4 ตกเพราะชนสายเคเบิ้ลไม่ใช่เพราะรังสี

ความคิดเห็นที่ 56

นอกจากนี้ยังมีฮีโร่อีก3คนที่กล้าหาญที่สุดในการปฏิการแก้ไขวิกกฤตเชอร์โนบิล คือ 3 คนที่อาสาดำน้ำไปเปิดประตูระบายน้ำเพื่อให้น้ำที่อยู่ใต้เตาปฎิกรณ์ที่4ระบายออกมา มิเช่นนั้นถ้าน้ำมีอุณหภูมิสูงอาจเกิดระเบิดขึ้นอีก

งานนี้ไม่ง่าย โอกาสรอดริบหรี่เต็มทนแต่พวกเขาก็ทำ น้ำที่ขังอยู่เต็มไปด้วยกัมมันตภาพรังสีที่รั่วออกมา ชุดที่ใส่ก็เป็นแค่ชุดประดาน้ำธรรมดา

ชายทั้ง3คน คือ Alexei Ananenko, Valeri Bezpalov และ Boris Baranov

ไม่มีรายละเอียดที่ตรงกันว่าพวกเขาทำหน้าที่อะไรในโรงไฟฟ้าอ่านบางอันก็บอกว่าตัวอเล็กซ์ซี กับ วาเลรี เป็นวิศวกร บ้างก็ว่าคนควบคุมเครื่องจักร ส่วนบอริสบ้างก็ว่าเป็นทหาร หรืออีกอันบอกเป็นคนงาน

สิ่งที่เขา3คนทำคือ ต้องเปิดประตูระบายน้ำออกมาให้ได้ โดยบอริสจะค่อยส่องไฟที่ใช้ใต้น้ำ แต่ว่าเมื่อลงไปไฟดับทันทีพวกเขาเลยต้องคลำทางไปอย่างมืดๆ ในน้ำกัมมันตภาพรังสี และพวกเขาทำสำเร็จ

ไม่มีรูปถ่ายให้ดูว่า3วีรบุรุษหน้าตาเป็นอย่างไร หาข้อมูลมาก็ไม่ตรงกัน เช่น พอเปิดประตูได้ พวกเขาก็ตายบริเวณนั้นทันทีจากร่างกายที่โดนรังสีเผาไหม้แล้วศพก็ถูกฝังอยู่ในตัวโรงงานที่4ที่ถูกครอบทับ

บ้างก็ลงว่ากลับออกมาได้แต่พอขึ้นมาก็ตาย หรือไปตายที่โรงพยาบาล

แต่ผลสรุปคือเสียชีวิตทั้ง3คน ในช่วงน่าจะระหว่างวันที่26เมษายน-1 พฤษภาคม 1986



ภาพจากหนังมีคนแต่งเพลงให้ด้วย

ความคิดเห็นที่ 57

ข้อมูลเยอะมาก รออ่านต่อนะจ๊ะ

ความคิดเห็นที่ 58

จริงๆแล้วผู้เสียชีวิตทุกคน และคนที่ป่วยจากการทำหน้าที่เพื่อจะจัดการเชอร์โนบิลจังเตาที่4นั้น ต่างเป็นวีรบุรุษ...แต่จริงๆในใจของทุกคนก็เห็นว่าเชอร์โนบิลเป็นบ้านของพวกเขา จึงทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้

อีกคนนึง คือ ช่างภาพชาวยูเครนvladimir shevchenko เขาเป็นช่างภาพที่มีชื่อเสียงในโซเวียตมาก และงานนี้ก็มีเขาเพียงคนเดียวที่ได้รับอนุญาตจากทางรัฐบาลให้เก็บภาพ

และก็เหมือนกับคนทั่วไป ที่ไม่รู้ว่ารังสีนั้นร้ายแรงขนาดไหน เขาทั้งตระเวนถ่ายรูปทั่วทั้งเมืองรวมทั้งบริเวณโรงไฟฟ้าและบนหลังคาที่เสียหายจากการระเบิดของเตาหมายเลข4

ทำให้เห็นว่าคนงานจำนวนมากไม่ได้มีเครื่องป้องกันที่เหมาะสม แม้แต่ของวลาดิเมียร์เอง ก็มีแค่หน้ากากทั่วๆไป และเตรียมตัวมาน้อยนิด

แน่นอนหลังจากกลับจากเมืองเชอร์โนบิล เขาเริ่มป่วย สุขภาพทรุดลงเรื่อยๆทั้งต่อมไทรอยด์และมะเร็ง เสียชีวิตในปี1987

ก่อนจะสิ้นลมเขาบอกว่าเรื่องที่ยังกังวล คือ ถ่ายภาพเมืองไว้ไม่ทั่ว

กล้องถ่ายรูปถูกฝังพร้อมกับร่างไร้วิญญาณในโลงศพที่ปิดแน่นสนิทด้วย เนื่องจากปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี

ความคิดเห็นที่ 59

ระเบิดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล หรือชื่อย่อ CHnpp (Chernobyl Nuclear Power plant) ก็คล้ายๆระเบิดนิวเคลียร์เพียงแต่ที่ไม่ราพณาสูรเท่าตอนสงครามโลกครั้งที่2แบบที่เกิดกับญี่ปุ่นก็เพราะปฏิกริยาลูกโซ่นั้นไม่ครบ

แต่มันก็คงได้ส่งส่วนที่เหลือจากการระเบิด หรือ Nuclear Fallout ไปทั่วยุโรป

โดยลมพาเจ้าเมฆกัมมันตรังสีลอยตุ๊บป่องๆไปทั่วทวีปยุโรปภายใน2วัน

ความคิดเห็นที่ 60

แผนภาพปริมาณรังสีในยุโรปช่วงหลังเกิดการระเบิด

ความคิดเห็นที่ 61

ชาวคณะทัวร์เชอร์โนบิลสงสัยกันอีกมั๊ยว่าแล้วโลกรู้ข่าวเชอร์โนบิลได้อย่างไร 25ปีก่อนมือถือและอินเตอร์เนตไม่เป็นที่แพร่หลายอยู่แล้ว และปกติชีวิตในสหภาพโซเวียต หรือหลังม่านเหล็ก เรามักจะได้เห็นแต่วิวสวยๆ รูปสวยๆ นั้นคือโฆษณาชวนเชื่อสไตล์โซเวียต

แน่นอนว่าโซเวียตไม่มีทางออกมาบอกถึงอันตรายนี้แน่ๆ ประเทศที่รู้เป็นประเทศแรก คือ สวีเดน แถมรู้หลังจากเกิดเหตุไปแล้ว2วัน!

มีบทสัมภาษณ์อดีตนักเคมีประจำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟอสมาร์ค ตั้งอยู่ที่เมืองฟอสมาร์ค เขตปกครองอุปซอลา ห่างจากเมืองหลวงสต็อคโฮม ไปทางเหนือประมาณ 80 กม.และห่างจากจุดเกิดที่เชอร์โนบิลประมาณเกือบ1500 กม.

บทสัมภาษณ์Cliff Robinson คนแรกที่บอกให้โลกรู้ถึงหายนะในเชอร์โนบิล http://sverigesradio.se/sida/artikel.aspx?programid=2054&artikel=4468603

ความคิดเห็นที่ 62

"ผมไม่ได้เป็นคนค้นพบมันหรอก ผมแค่ไปอยู่ที่นั้นเท่านั้นเอง" คลิฟฟ์ โรบินสันบอกกับเรดิโอสวีเดนที่บ้านของเขาในอุปซอลา

ก่อนที่โลกจะรู้ถึงอุบัติเหตุครั้งใหญ่ที่เชอร์โนบิล
โรบินสันรู้ว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ตอนนั้นเขาเป็นนักเคมีอยู่ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟอสมาร์ค อยู่ทางตอนเหนือของกรุงสต็อคโฮม ระยะห่างประมาณ2ชั่วโมง

ในเช้าตรู่ของวันจันทร์ที่ 28 เมษายน ปี 1986 เขาทานอาหารเช้าอยู่ที่ห้องดื่มกาแฟในโรงไฟฟ้า และเข้าห้องน้ำเพื่อไปแปรงฟัน โดยห้องน้ำตั้งอยู่ระหว่างเขตควบคุมและเขตไม่ควบคุมในโรงงาน และตอนที่จะเข้าห้องล็อกเกอร์ต้องเดินผ่านเครื่องตรวจจับรังสี

เมื่อเดินผ่านเครื่องตรวจก็ส่งสัญญาณเตือน


"มันแปลกมาก เพราะผมยังไม่ได้เดินเข้าไปในเขตควบคุมเลย" โรบินสันบอก

เขาจึงลองเดินผ่านอีก2ครั้ง และในครั้งที่3สัญญาณก็ไม่ดัง ตัวเขาและคนที่ควบคุมจอของเครื่องตรวจจับคิดว่าน่าจะต้องตั้งข้อมูลเจ้าเครื่องตรวจรังสีเสียใหม่

งานของโรบินสันคือคอยดูกัมมันตภาพรังสีภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟอสมาร์ค เขาเล่าย้อนถึงตอนที่เขากลับมาที่ตัวเครื่อง มีแถวพนักงานต่อคิวกันยาวรออยู่ที่เครื่องตรวจ ไม่มีใครผ่านไปได้ เขาบอกว่า เครื่องมันส่งเสียงเตือนตลอด

โรบินสันขอยืมรองเท้าของคนที่ยืนต่อแถวอยู่มา1ข้าง นำเข้าเครื่องตรวจวัดรังสีแบบเจอร์เมเนียมในห้องแล็บ

"แล้วผมก็ได้เห็นสิ่งที่ผมไม่มีวันลืม" เขากล่าว "รองเท้าข้างดังกล่าวปนเปื้อนรังสีสูงมาก ผมเห็นสเปรคตรัมขึ้นสูงมากอย่างรวดเร็ว และที่น่าประหลาดคือองค์ประกอบของรังสีที่พบนั้น ตามปกติเราไม่สามารถพบในน้ำหล่อเย็นที่ฟอสมาร์คได้แน่นอน"

โรบินสันกล่าวต่อว่า "ผมจำได้คร่าวๆว่าผมคิดว่าอาจมีระเบิดนิวเคลียร์ระเบิดขึ้นที่ไหนซักแห่ง"

ความคิดเห็นที่ 63

เขาจึงเรียกหัวหน้าเพื่อบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้น โดยหัวหน้าให้เขาไปตรวจสอบปล่องของโรงไฟฟ้าเพื่อดูว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้จะปล่อยรังสีดังกล่าวออกมา

ทันใดนั้นเองเขาได้ยินเสียงสัญญาณเตือนดังขึ้น แต่คราวนี้เป็นสัญญาณให้พนักงานอพยพ

โรบินสันยังอยู่ในโรงไฟฟ้าเขากำลังวิเคราะห์ตรวจอย่าง "ในโรงไฟฟ้าฟอสมาร์คไม่มีสิ่งใดทำงานผิดปกติ เพียงแต่สิ่งแวดล้อมโดยรอบปนเปื้อนรังสีอย่างมาก" เขายังบอกอีกว่า "ผมจำได้ว่าผมเครียดมาก ไม่ว่าผมกำลังทำอะไรอยู่ทุกสิ่งทุกอย่างมันผ่านไปช้ามาก"

สหภาพโซเวียตยอมรับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

ลีฟ โมเบิร์ก ทำงานอยู่ที่องค์การความปลอดภัยทางรังสีแห่งสวีเดน ซึ่งในตอนนั้นเขากำลังทำวิจัยเกี่ยวกับนิวเคลียร์ เขาจำได้ว่าเช้าวันจันทร์ที่รับโทรศัพท์จากโรงไฟฟ้าฟอสมาร์ค

ในตอนแรกโมเบิร์กคิดว่าเป็นไปได้ที่โรงไฟฟ้าฟอสมาร์คมีรังสีรั่วไหล แต่อีก2ชั่วโมงต่อมาเห็นได้ชัดว่าโรงไฟฟ้าดังกล่าวไม่มีรังสีรั่วไหลแต่อย่างใด

ความคิดเริ่มแรกคือรังสีดังกล่าวอาจมาจากระเบิดนิวเคลียร์ แต่การวิเคราะห์ทางเคมีทำให้ขีดฆ่าสาเหตุนี้ออกไป

ทางองค์การได้รับรายงานกัมมันตภาพรังสีในปริมาณสูงจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อื่นๆด้วยเช่นกัน พวกเขาเลยตรวจสอบทิศทางลมและพบว่าพัดมาจากทางตะวันเฉียงใต้ และเชอร์โนบิลก็บนแผนที่นั้นด้วย

แล้วเหตุการณ์เริ่มเปลี่ยนจากสวีเดนรู้ถึงความผิดปกติจนในที่สุดโลกทั้งใบรู้ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวได้อย่างไร

ในวันเดียวกันนั้นเองนักการทูตชาวสวีเดนได้ติดต่อกับทางมอสโคว่ามีอุบัติทางนิวเคลียร์เกิดขึ้นที่นั้นหรือไม่
ทางมอสโคบอกว่าไม่มี ทางสวีเดนจึงเตือนว่าพวกเขาจะยืนหนังสือเตือนอย่างเป็นทางการไปยังทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ และตอนนั้นเองที่โซเวียตยอมรับว่าเกิดอุบัติเหตุขึ้นที่เมืองเชอร์โนบิล

ความคิดเห็นที่ 64

โมเบิร์กกล่าวว่าตอนนั้นทางองค์การเป็นกังวลมากเนื่องจากไม่ทราบว่าการปนเปื้อนขยายไปเท่าไรแล้ว

กัมมันตภาพรังสีส่งผลกระทบต่อสวีเดน

เมฆกัมมันตภาพรังสีลอยมาตามลมจากเชอร์โนบิลถึงสวีเดนเหมือนกับมังกรที่มองไม่เห็น เจ้ามังกรตัวนี้ไม่ได้พ่นไฟ แต่พ่นน้ำฝนแทนและเมื่อฝนตกลงมา มันก็มาพร้อมกับกัมมันตภาพรังสีด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือและตอนกลางของสวีเดน เช่นที่อุปซอลา เยฟเลอะ เวสเตอร์บอตเตน และที่อื่นๆ

การเก็บอาหารไม่ให้ปนเปื้อนก็เป็นปัญหาในบางพื้นที่เช่นกัน

ทางตอนเหนือของสวีเดนดูดซึมรังสีซีเซียม-137ไว้5%จากรังสีที่เชอร์โนบิลปล่อยมาในอากาศ ซึ่งก็ทำให้เพิ่มโอกาสเป็นโรคมะเร็งด้วย

รังสีได้เข้าไปผสมกับไลเคนที่กวางเรนเดียร์กิน หลังจากมีการฆ่ากวางเรนเดียร์เพื่อนำเนื้อไปขาย พบว่า80%ของเนื้อกว่านั้นปนเปื้อนรังสีมากเกินกว่าจะนำไปขายได้

ผู้เลี้ยงกวางเรนเดียร์ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยง โดยต้องฆ่ากวางเรนเดียร์ในช่วงต้นปีก่อนที่พวกมันจะไปกินมอส

เจ้าหน้าที่ของสวีเดนต้องยกระดับรังสีที่อญสตให้มีได้ในสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อการกีฬา ปลาน้ำจืด ลูกเบอร์รี่ป่า และเห็ด โดยดูว่าสิ่งเหล่าใช้ประกอบในการทำอาหารในสวีเดนจำนวนไม่มากแม้กระทั่งปัจจุบันยังกวางเรนเดียร์บางส่วนที่ขายไม่ได้เนื่องจากพวกมันมีกัมมันตภาพรังสีอยู่มากเกินไป

25ปีผ่านไป สิ่งที่หลงเหลือจากเชอร์โนบิล คือ ในอาหารและร่างกายของคนเรางั้นหรือ? ลีฟ โมเบิร์กจากองค์การความปลอดภัยทางรังสีแห่งสวีเดน กล่าวว่าจำนวนรังสีตอนนี้อยู่ในระดับครึ่งชีวิตแล้ว แต่ไม่ใช่สำหรับซีเซียม-137ซึ่งสร้างปัญหาให้กวางเรนเดียร์ เพราะครึ่งชีวิตของซีเซียม-137 คือ 30ปี นั้นหมายความว่าอีกกว่าครึ่งหนึ่งของซีเซียม-137 ยังคงเหลืออยู่ในสวีเดน

แต่ว่ารังสีปริมาณมากที่ฝังตัวในดินเหนียว ซึ่งหมายความว่าไม่ปลอดภัยสำหรับใช้ปลูกพืช และเห็ดก็สามารถมีอนุภาคของรังสีอยู่ในปริมาณที่สูง แต่ถ้าไม่ได้บริโภคอาหารจำพวกนี้ในปริมาณที่มากเกินไปก็ไม่ต้องไปกังวลอะไร

โมเบิร์กบอกว่าเชอร์โนบิลไม่ส่งผลต่ออัตราการป่วยเป็นมะเร็งและอัตราการตายในสวีเดน

ความคิดเห็นที่ 65

ผลกระทบถาวร?

ในท้ายที่สุด เป็นการยากที่จะบอกว่าเชอร์โนบิลส่งผลกระทบมากเพียงใดต่อสวีเดน

ในแง่นโยบายก็ไม่มาก การละลายบางส่วนที่เกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ในอเมริกาเพียงไม่กี่ปีก่อนเชอร์โนบิลทำให้ชาวสวีเดนลงมติหยุดการใช้พลังจากนิวเคลียร์

แต่เชอร์โนบิลได้จุดประเด็นในการพูดคุยว่าจะทำอย่างใดให้คนงานในโรงไฟฟ้าทำงานด้วยความปลอดภัยมากขึ้น

มีพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในสวีเดนเตรียมฝังบันทึกที่สวีเดนมีต่อเหตุการณ์เชอร์โนบิล

มันจะนานอีกเท่าไรที่ฝุ่นจากเชอร์โนบิลจะถูกชำระล้างได้หมดสิ้นในความหมายตรงตามตัวอักษรและเปรียบเทียบ(เปรียบเทียบถึงความทรงจำเหตุการณ์ดังกล่าว)

คลิฟ โรบินสัน นักวิทยาศาสตร์ผู้ทำให้เครื่องตรวจรังสีดังเมื่อ25ปีก่อน ยอกว่าเหตุการณ์เชอร์โนบิลไม่ได้หลอกหลอนเขาด้วยตัวของมันเอง แต่มันก็ยังอยู่ในใจของเขาเป็นครั้งคราว

"เมื่อตอนที่ผมได้ข่าวจากญี่ปุ่นเช่นทุกวันนี้ แล้วข่าวนั้นก็ทำให้ผมนึกถึงเชอร์โนบิล" เขากล่าวทิ้งท้าย

ความคิดเห็นที่ 66

ในวันที่ 28 เมษายน นอกจากสวีเดนจะตรวจจับรังสีปริมาณมหาศาลที่รั่วออกมาแล้ว นอร์เวย์ ฟินแลนด์ ต่างก็ตรวจจับรังสีได้เช่นกัน

อีกประมาณ5ชั่วโมงต่อมา ทางเครมลินจึงให้ออกข่าวผ่านทางรายการทีวีของโซเวียตชื่อ"วเรเมีย"(Вре́мя)ที่ออกข่าวว่า เกิดอุบัติที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล หนึ่งในเตาปฏิกรณ์ได้รับความเสียหาย มีการออกมาตรการเพื่อใช้แก้ไขเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว และมีการให้ความช่วยเหลือสำหรับผู้ได้รับผลกระทบ ทางรัฐบาลได้ตั้งคระกรรมการสอบสวนถึงอุบัติเหตุดังกล่าว

ความคิดเห็นที่ 67

หลังจากนั้นก็แทบไม่มีข่าวออกมาอีกเลยว่าสถานการณ์ที่เชอร์โนบิลเป็นอย่างไรบ้าง แม้แต่ผู้อยู่ในยูเครนก็ไม่สามารถรู้ถึงชะตากรรมของประเทศตน พวกเขาเลยต้องหันมาพึ่งสถานีวิทยุต่างชาติในการรับฟังข่าวสาร เช่น Voice of America, Radio Liberty เป็นต้น

ในวันถัดมา ทางเครมลินได้ออกข่าวแจ้งอีกว่าอุบัติเหตุที่เชอร์โนบิลมีผู้เสียชีวิต2คน ตอนนี้สถานการณ์สงบและสามารถควบคุมได้แล้ว ทุกคนที่ได้ข่าวนี้ต่างก็รู้สึกถึงความผิดปกติ และไม่มีใครเชื่อรัฐบาลโซเวียตอีกต่อไป ในวันที่ 30 เมษายน กัมมันตภาพรังสีจากแถบสแกนดิเนเวียนพัดกลับมาที่เบลารุสและยูเครน และดาวเทียมอเมริกาถ่ายภาพเห็นความเสียหายของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลและยังเห้นว่าเตาปฏิกรณ์หมายเลข4 ยังมีไฟลุกไหม้อยู่
ตอนนี้ทางอเมริกาได้เสนอความช่วยเหลือมายังยูเครนแต่ทางเครมลิมปฏิเสธความช่วยเหลือดังกล่าวทั้งจากรัฐบาลอเมริกาและองค์กรอาสาสมัครต่างๆจากอเมริกา

ในตอนนั้นสื่อต่างทั้งCNNและCBS ออกข่าวที่ได้รับมาจากแหล่งข่าว เช่น ชายชาวนิวยอร์กที่มีน้องชายทำงานในโรงพยาบาลที่ยูเครนที่บอกว่ามีคนตายนับร้อย และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนโรงพยาบาลแทบรับไม่ไหว ส่วนนักเรียนชาวฝรั่งเศสที่เที่ยวอยู่ในยูเครนบอกว่ามีคนเสียชีวิตกว่า500คน

เวลาผ่านไป4วัน ทางเครมลินก็ยังบอกสบายๆ


ภาพที่สวีเดนกำลังเคลียร์ฟางที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีออก

ความคิดเห็นที่ 68

จนกระทั่งวันแรงงาน มิกาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียตออกมาพบปะประชาชนที่จัตุรัสแดง

ส่วนที่กรุงเคียฟ ยูเครน ทางโซเวียตได้สั่งให้จัดงานฉลองวันแรงงานอย่างเต็มที่ ทั้งเดินขบวนพาเหรด เด็กๆออกมาเต้น

หลังจากนั้นทางโซเวียตก็พยายามปิดกั้นสื่อต่างชาติ ข่าวต่างๆจากนอกโซเวียต ไม่ให้เข้ามา และไม่ให้ข่าวรั่วออกไปจากเมืองเคียฟ

ในวันที่6พฤษภาคมทางเจ้าหน้าที่ในกรุงเคียฟได้ออกประกาศให้ชาวบ้านปิดหน้าต่าง และอยู่แต่ภายในบ้าน และมีการจำกัดการเดินทางในเคียฟ

ส่วนการอพยพประชาชนในเมืองปริเปี้ยตเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 1986 โดยทางโซเวียตจัดรถมาบัสมารับจำนวน2พันคน โดยให้เวลาประชาชนเก็บของใช้ส่วนตัวเป็นเวลา2ชั่วโมง โดยบอกว่าเป็นการอพยพชั่วคราวไม่นานก็จะได้กลับบ้านทั้งที่จริง...ไม่มีใครได้กลับมาอีกเลย

ประชาชนกลุ่มแรกที่อพยพไปเป็นจำนวน 33,000คน ส่วนนักวิทยาศาสตร์ ทหาร และเจ้าหน้าที่ของทางรัฐบาลยังคงอยู่ในเมืองต่อไป

รูปงานฉลองวันแรงงานบนถนนเครสชาติก ในกรุงเคียฟ

ความคิดเห็นที่ 69

ในวันที่ 1 พฤษภาคม มีการอพยพรอบสอง จากเขตกักกัน หรือรัสมี30กม.จากโรงงาน ซึ่งในตอนนั้นรังสีแพร่กระจายไปถึงฝรั่งเศสและเยอรมนีแล้ว


ภาพรถบัสอพยพ

ความคิดเห็นที่ 70



คลิปบางส่วนจากการอพยพคนออกจากเมืองปริเปี้ยต

ความคิดเห็นที่ 71

มีการสร้างเมืองใหม่แทนปรีเปี้ยต นั้นคือ เมืองชื่อว่า สลาวูติค (Slavutych) โดยเริ่มสร้างเมืองในช่วงเดือนตุลาคมปี1986 แล้วเสร็จในปี1988 ปัจจุบันมีประชากรประมาณเกือบ 25,000 คน

มีการอพยพอดีตชาวเมืองปรีเปี้ยตมาอาศัยที่เมืองนี้ ในเมืองยังพบอนุเสาวรีย์ที่สร้างให้ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เชอร์โนบิลอยุ่


ภาพเมืองสลาวูติค

ความคิดเห็นที่ 72

เมืองสลาวูติค จะมีสถาปัตยกรรมที่ดูแปลกตามากกว่าเมืองอื่นๆในยูเครน เพราะเป็นเมืองที่สร้างรวมกันของ8ประเทศภายใต้การปกครองของโซเวียต ได้แก่ รัสเซีย ยูเครน ลัตเวีย ลิธัวเนีย เอสโตเนีย จอร์เจีย อาร์เมเนีย และ อาร์เซอร์ไบจัน

ผู้ที่อาศัยหลายคนยังทำงานอยู่ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลโดยการเดินทาง คือ นั่งรถไฟสายนานาชาติข้ามมายังพรหมแดนเบลารุสก่อนวกกลับเข้ายูเครน

เมืองนี้อยู่ห่างเชอร์โนบิลเพียงแค่50กม. แต่ที่เลือกสถานที่นี้เพราะมีรางรถไฟอยู่แล้ว แถมยังอยู่ใกล้แม่น้ำนีเปอร์ ซึ่งสะดวกในการขนส่งของในการก่อสร้าง

บ้านสวยดี

ความคิดเห็นที่ 73

เมืองนี้ตอนแรกที่สร้างถูกวาดฝันให้เป็นเมืองแห่งศตวรรษที่21(นึกถึงโดราเอมอน)มีมาตรฐานของการครองชีพดีกว่าเมืองโดยมากในยูเครน มีสระว่ายน้ำ โรงเรียนอนุบาล มีศูนย์เยาวชน

ประชาชนเกือบ9พันคน หรือครึ่งของประชากรวัยผู้ใหญ่ที่ทำงานในโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ต่อมาเมื่อมีการปิดเตาปฏิกรณ์ตัวสุดท้ายเมื่อปี2001 ทำให้คนกว่าตกงานจำนวนมาก ตอนนี้เหลือทำงานอยู่ในโรงไฟฟ้าประมาณ3พันคน ค่าใช้จ่ายต่างๆของเมืองมาจากบริษัทที่ทำหน้าที่บริหารโรงไฟฟ้า เมื่อเตาปิดลง คนตกงานเศรษฐกิจก็ย่ำแย่ลงตามไปด้วย ทำให้ทางรัฐบาลต้องตั้งเมืองนี้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อดูแลคนที่ตกงานโดยเฉพาะ

แต่หลายคนก็ออกจากเมืองนี้เพื่อไปหางานทำที่เมืองอื่น

ใจกลางเมือง ดูเงียบๆ

ความคิดเห็นที่ 74

โรงเรียนอนุบาล ดูแปลกๆแต่สวยดี

ความคิดเห็นที่ 75

อนุสรณ์แก่เหยื่อเชอร์โนบิล น่าแปลกว่ามีภาษาอังกฤษอยู่ด้วย เป็นเหมือนการต่อต้านสัญลักษณ์ความเป็นโซเวียตอยู่ในตัว

ความคิดเห็นที่ 76

อนุสรณ์ที่ระลึกนักดับเพลิงกลุ่มแรกที่ขึ้นไปบนหลังคาและชีวิตทั้งหมด

ความคิดเห็นที่ 77

ทางเข้าเมืองปริเปี้ยตในปัจจุบัน

ความคิดเห็นที่ 78

อนุสรณ์ที่ระลึกครบรอบ20ปี(2006)โดยอุทิศแก่คนที่มีส่วนช่วยสร้างอาคารครอบเตาหมายเลข4ไว้ ซึ้งเป็นคอนกรีตขนาดหนาเพื่อกั้นไม่ให้ รังสีที่ยังอยู่แพร่กระจายออกมา

ด้านหลังคือเตาปฏิกรณ์หมายเลข4 ซึ่งถ้าจะเข้าไปภายในนั้นแทบไม่มีโอกาส เพราะยังอันตรายมากคนที่ใส่ชุดป้องกันเข้าไปอยู่ได้ไม่เกิน2นาที บางครั้งจะมีการส่งหุ่นยนต์เข้าไปเก็บภาพแทน

ความคิดเห็นที่ 79

จารึกเป็นภาษาอังกฤษด้วย

ความคิดเห็นที่ 80

"โปรดฟัง ชาวเมืองปริเปี้ยตทุกท่าน! สภาเมืองขอแจ้งให้ท่านทราบถึงอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ในเมืองปริเปี้ยตสภาพของกัมมันตภาพรังสีเห็นได้ชัดว่ากำลังอ่อนกำลังลง ทางเจ้าหน้าที่และทหารของพรรคคอมมิวนิสต์กำลังใช้มาตราการสำคัญในการจัดการปัญหานี้ แต่อย่างไรก็ตามเรามีแนวคิดที่จะให้ประชาชนมีความปลอดภัยและสุขภาพที่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เด็กๆนั้นมีความสำคัญสูงสุด เราจึงจำเป็นต้องอพยพประชาชนชั่วคราวไปยังเมืองต่างๆที่ใกล้เคียงในเขตเคียฟ โอบาลสต์ ด้วยสาเหตุที่กล่าว การอพยพจะเริ่มวัน27 เมษายน 1986 เวลา บ่ายสองโมง โดยอพาร์เมนท์แต่ละบล็อกจะมีรสบัสประจำอยู่ มีตำรวจและเจ้าหน้าที่เมืองเป็นคนคอยควบคุม แนะนำให้ท่านเตรียมเอกสารสำคัญ ของมีค่าส่วนบุคคล และอาหารจำนวนหนึ่ง นำติดตัวไปด้วย ผู้บริหารของโรงงานแต่ละแห่งจะเป็นผู้ตัดสินรายชื่อว่าพนักงงานคนใดจำเป็นต้องอยู่ในเมืองปรีเปี้ยตเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ตำรวจจะมีหน้าที่ดูแลบ้านทุกหลังในช่วงอพยพ สหาย,ท่านจงละทิ้งบ้านไว้ชั่วคราว โปรดแน่ใจว่าท่านได้ปิดไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ปิดน้ำและหน้าต่าง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรดอยู่ในความสงบและปฏิบัติตามคำสั่งนี้ในการอพยพชั่วคราว"

และนี้เป็นคำประกาศอพยพชาวเมืองที่ไม่มีหน้าที่ในโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล การอพยพเริ่มจริงๆในช่วง28 เมษายน 1986



ภาพงานระลึกครบรอบ26ปีของหายนะเชอร์โนบิล เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา ที่เมืองสลาวูติค โดยมีพนักงงานในโรงไฟฟ้าร่วมไว้อาลัยผู้กล้าที่เสียสละชีวิต

ความคิดเห็นที่ 81

ต่อพรุ่งนี้เรื่องคนเบื้องหัลงอีกกลุ่มหนึ่ง (กลุ่มใหญ่มาก) พวกเขา คือ Liquidators (ตามที่ทางโซเวียตเรียก) หรือ กลุ่มคนที่ทำหน้าที่เก็บกว่าเศษซากหายนะ

พวกเขามีความสำคัญมาก ทางองค์การอนามัยโลกบอกว่าในช่วงปี1986-1987 มีคนกว่า 2แสน4หมื่นคนถูกเรียกมารับหน้าที่นี้ และมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอีกกว่า6แสนคน มาทำงานนี้ด้วยเช่นกัน

ภาพเหรียญที่ให้ลิควิดเดเตอร์

ความคิดเห็นที่ 82

ใครบ้างคือเหล่าลิควิดเดเตอร์ เช่น

นักดับเพลิงทั้งหมด40ชีวิต รวมถึงชุดแรกที่ขึ้นไปดับไฟบนหลังคาตรงบริเวณเตาหมายเลข4

เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่อาคารเตาหมายเลข4 มีรอดกันมา คือ Yuri Korneev, Boris Stolyarchuk และ Alexander Yuvchenko ส่วน Anatoly Dyatlov เสียชีวิตไปเมื่อปี1995 ด้วยอาการหัวใจวาย

หน่วยแพทย์

กองป้องกันภัยพลเรือนจากเมืองเคียฟ

ทหาร

พนักงานขับรถขนส่งคนเข้าไปทำงาน

คนงานเหมืองถ่านหินที่ใช้ประสบการณ์มาสูบน้ำออกเพื่อไม่ให้น้ำปนเปื้อนรังสีปนกับน้ำบาดาล

ทีมเจ้าหน้าที่และทหารที่ทำความสะอาดพื้นที่

ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง

อัตราของลิควิดเดเตอร์ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ไม่แน่นอน อย่างเช่น สถานทูตยูเครตในเบลเยี่ยมนับจำนวนได้25,000คน

หรือแพทย์ชาวเบลารุสที่ทำงานในบริเวณเตาหมายเลข4บอกว่า จำนวนลิควิดเดเตอร์ทั้งหมด1ล้านคน เสียชีวิตไป1แสนคน

ในขนาดที่องค์การอนามัยโลกประมาณว่า4พันคน โดยบางคนที่เสียชีวิตหลังจากทำงานไม่กี่เดือน ในขณะที่บางคนอาการเพิ่งแสดงและเสียชีวิตลงหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปแล้วถึง18ปีก็มี

โดยลิควิดเดเตอร์เป็นชาวโซเวียตทั้งหมดที่ถูกเกณฑ์มาช่วยงาน หลายคนไม่รู้ถึงพิษสงอันร้ายกาจของเจ้ารังสี และต้องเสียชีวิตในเวลาต่อมาอย่างทรมาน ในขณะที่หลายคนรอดมาได้แต่ก็พิการไปตลอดชีวิตก็มี

แนะนำให้ดูเว็บนี้รูปเยอะมาก มีภาพแผลจากรังสีด้วยหนังลอกออกมา แผลพุพองน่ากลัว http://www.corbisimages.com/ImageGroup/5/1308769#p=1&s=25&sort=0

จากภาพเป็นชุดทำงานของทหารลิควิดเดเตอร์ชุดสีเขียวเข้มเป็นผ้าธรรมดาแล้วห่อด้วยแผ่นตะกั่วหนาเพียง2-4 มม.เท่านั้น

ความคิดเห็นที่ 83

มีต่อ พรุ่งนี้

ความคิดเห็นที่ 84

http://www.euronews.com/2011/11/01/chernobyl-liquidators-try-to-storm-parliament/

เรื่องที่น่าเศร้าสำหรับเหยื่อเชอร์โนบิลทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เคยอยู่ในปรีเปี้ยต หรือ เชอร์โนบิล เบลารุส หรือเมืองอื่นๆนอกเขตกักกัน30กม.ที่ทุกวันนี้ยังมีผู้เจ็บปวด พิการแต่กำเนิด อยู่เป็นจำนวน และแต่ละประเทศไม่มีเงินสำหรับพวกเขาทีใช้ในการรักษา

หลายคนรอความตายไปวันๆ


ภาพของเหล่าลิควิดเดเตอร์ ซึ่งนำมาใช้แทนหุ่นยนต์จากเยอรมนีตะวันตก ญี่ปุ่น และรัสเซียที่ไม่สามารถทนต่อกัมมันตภาพรังสีบริเวณเตาหมายเลข4ที่รุนแรงมาก ทางการโซเวียตเลยส่งลิควิดเดเตอร์ไปแทน และเรียกว่า BIOROBOT

ความคิดเห็นที่ 85

ถึงแม้ไม่มีจำนวนที่แน่ชัดว่ามีลิควิดเดเตอร์เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้เท่าไร ที่แน่ๆหลายคนตอนนี้ก็ยังต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง ยังมีโรคอื่นๆอีกด้วย

ตั้งแต่ปี1989 จะมีการจัดเชอร์โนบิลเวย์ เป็นการวิ่งเพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์เชอร์ดนบิล และการหาเงินสนับสนุนใช้ในการรักษาผู้ป่วยและคนพิการจากเหตุการณ์ดังกล่าว จัดขึ้นทุกวันที่26 เมษายนของทุกปีที่เบลารุส

อนุเสาวรีย์แก่เหล่าลิควิดเดเตอร์"To those who saved the world"

ความคิดเห็นที่ 86

ใครอยากดูภาพเพิ่มเติมในปัจจุบันเชิญเลย http://www.flickr.com/photos/tonisihvonen/4808763266/

โดยเตารุ่น1-4 จะมีปล่อง รุ่น5-6จะคล้ายๆภูเขา โดยหลังจากเกิดเหตุก็ยังมีการดำเนินการสร้างเตา5-6ต่อจนหยุดไปในปี1988 และก็ยังมีการส่งกระแสไฟให้ใช้งานในเขตKiev Oblastจนเตาสุดท้ายปิดทำงานเมื่อปี2001 และรอการแยกชิ้นส่วนเตา ซึ่งทางรัฐบาลยูเครนประกาศว่าจะทำเสร็จให้เรียบร้อยภายในปี2065 ส่วนเชอร์โนบิลจะอยู่ให้ปลอดภัยหมายถึง เก็บหญ้า กินผัก ใช้น้ำได้ตามเดิมต้องรอไปอีก24,000 ปี ข้างหน้า ในตอนนี้ยุโรปที่เคยได้รับผลกระทบ บางที่ยังไม่ให้เก็บของป่ากินเลยนะ

เพราะครึ่งอายุของซีเซียมมันคือ30ปี ตอนนี้ยังไม่ถึงเลยจ้า แค่26ปีเท่านั้น


บ้านในเขตปรีเปี้ยตต้องมีเลขกำกับ ซึ่งทำในช่วงอพยพคนออก

ความคิดเห็นที่ 87

โครงการสร้างที่ครอบบริเวณเตาที่4 ครอบทับของเดิมจะเป็นอาคารที่เคลื่อนที่ได้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ความคิดเห็นที่ 88

ภาพโมเดลอาคารเตาหมายเลข4

ความคิดเห็นที่ 89

ภาพภายในอาคาร บางส่วนคนถ่าย บางส่วนหุ่นยนต์ถ่าย

ความคิดเห็นที่ 90

"เท้าช้าง" ไม่แน่ใจว่าคือลาวาจากสารกัมมันตภาพรังสีที่ไหลออกมาตั้งแต่ตอนระเบิดหรือเปล่า

ความคิดเห็นที่ 91

ในห้อง305

ความคิดเห็นที่ 92

ห้อง805 ห่อของไว้หมด

ความคิดเห็นที่ 93

ภาพปั๊มของเตาหมายเลข4

ความคิดเห็นที่ 94

สภาพความเสียหายของอาคารทางตอนเหนือ

ความคิดเห็นที่ 95

ภาพห้องควบคุมเตาหมายเลข4


บางคนอาจเคยเห็นภาพที่ถ่ายโดยวลาดิเมียร์ เชฟเชงโก

(น่าจะใช่คนนี้) เป็นภาพที่เหมือนมีฝุ่นเกาะในรูป ฝุ่นคือฝุ่นรังสีทั้งหมด

ความคิดเห็นที่ 96

วัสดุกำบังรังสี

ในเตาหมายเลข4 ยูนิตเอเลน่า

ความคิดเห็นที่ 97

และส่วนสำคัญที่สุดที่ลืมไม่ได้ คือ Chernobyl Nuclear Power Plant sarcophagus หรือ อาคารครอบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข4

แล้วทำไมเรียกว่าซาร์โคฟากัส หรือโลงหิน มาจากภาษากรีคที่แปลว่า"กินเนื้อสด" “sarkophagus” ซึ่งหมายถึงหินปูที่บรรจุศพไม่ให้เน่าสลายไปได้ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99

โลงหินที่เราคุ้นเคยมาจากอียิปต์

ความคิดเห็นที่ 98

เจ้าเตา4มีชื่อภาษารัสเซียอย่างเป็นทางการด้วยว่า ukrytiye คำว่าอูกรีเทียฟ แปลว่า ที่พักอาศัย
รังสีในอาคารดังกล่าวมีทั้งคอเรียม พลูโตเนียม และ ยูเรเนียม ฝุ่นปนเปื้อนรังสี

ในปี1996 มีความพยายามจะซ่อมแซมสภาพภายในเจ้าซาร์โคฟากัสแต่ด้วยรังสีที่มีปริมาณมากถึง 1หมื่นเรินต์เกนต่อชั่วโมง (Röntgen) หรือRoentgen ในภาษาอังกฤษ ตามปกติแล้วจะแค่30-50 ไมโครเรินต์เกนต่อชั่วโมงเท่านั้น
เริ่มออกแบบเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 1986 เริ่มสร้างจริงเดือนมิถุนายน และเสร็จปลายเดือนพฤศจิการยน ใช้เวลาก่อสร้าง206วัน

ก่อนจะสร้างต้องเริ่มจากการสร้างตัวหล่อเย็นใต้เตาก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ปะทุเผาไม้ขึ้นมาอีกครั้ง

เลยมีการส่งคนงานเหมืองถ่านหินจำนวน400คน ลงไปสูบน้ำออกมาและขุดอุโมงความยาว168เมตร แต่เนื่องจากรังสีที่มีอยู่มากทำให้ไม่สามารถทำงานเชื่อมที่เกิดประกายไฟใดๆได้ทั้งสิ้น จึงต้องใช้หุ่นยนต์เข้าช่วย

อาคารนี้ไม่ได้ปิดแน่นทึบหมดแต่อย่างใด ขั้นตอนในการสร้างมี8ขั้นตอน ซึ่งแต่ละขั้นก็มีทั้ง

-เก็บกวาดและลงฐานคอนกรีตบริเวณรอบๆยูนิตที่4
-สร้างกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กรอบๆ
-สร้างกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กแบ่งระหว่างยูนิต3และ4
-สร้างกำแพง
-สร้างที่ค้ำยันกำแพง
-ปิดห้องturbine hall
-สร้าง ค้ำยัน และปิดส่วนต่างๆของยูนิต
-ทำระบบระบายอากาศ


http://www.flickr.com/photos/flat4/5783193613/in/photostream/รูปโรงไฟฟ้า

ความคิดเห็นที่ 99

นักวิทยาศาสตร์โซเวียตได้ออกมาบอกไว้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 1988 ว่าเจ้าตัวอาคารครอบมีอายุใช้งานเพียง20-30ปีเท่านั้น ด้วยความช่วยเหลือของธนาคารเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาแห่งยุโรป จึงมีการสร้างอาคารครอบหลังใหม่ขึ้นมาแทน คาดว่าปี2015นี้น่าจะได้ใช้ และอยู่ไปได้อีกประมาณ100ปีข้างหน้า

อธิบายการก่อสร้างอาคารหลังใหม่

ความคิดเห็นที่ 100

รายละเอียดสำหรับผู้สนใจ

http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=worlds-largest-movable-structure-seal-chernobyl-reactor

ความคิดเห็นที่ 101

ส่วนเรื่องที่น่าเศร้าอีกเรื่องสุดๆ เช่นกัน คือ ผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพ

จำนวนผู้เจ็บป่วบ พิการ และพิการแต่กำเนิด หลังจากเหตุการณ์เชอร์โนบิลเยอะมาก หลายคนเกิดมาพิการก็ถูกทิ้งให้รัฐเลี้ยง ส่วนใหญ่จะมีอาการปัญญาอ่อน อวัยวะผิดปกติ เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ หรือลูคีเมียก็เป็นจำนวนมาก

อย่างเช่นมะเร็งต่อมไทรอยด์จะมีคำเรียกว่า Chernobyl Necklaceเนื่องจากพอผ่าต่อมไทรอยด์จะถึงรอยไว้ เช่นในรูป

ความคิดเห็นที่ 102

ตอนนี้หลายๆประเทศที่เคยอยู่ในสหภาพโซเวียตมีแยกออกมาแล้ว ยังเป็นประเทศยากจนไม่มีเงินในการรักษาผู้ป่วย รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่จะรักษา จึงมีองค์กร มูลนิธิต่างๆยื่นมือช่วยเหลือ แต่ก็ยังไม่พอ ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี

เช่น สติลิยัง เปตรอฟ อดีตกัปตันทีมแอสตัน วิลล่าที่ป่วยเป็นลูคีเมีย ซึ่งตอนเด็กเขามาจากโปแลนด์ ในตอนนั้นกว่าที่โซเวียตจะบอกชาวโลกถึงกัมมันตภาพรังสีก็ช้าไปเกือบ2วัน ทำให้เด็กๆได้รับรังสีมากมาย แม้จะไม่ตรวจเจอในตอนนั้น แต่อาจส่งผลเมื่อเป็นผู้ใหญ่ขึ้น อย่างในกรณีของดารา ปรียานุช ปานประดับ ซึ่งเคยไปเรียนที่รัสเซียถึง2ปีก็อาจเป็นไปได้ที่เธออาจจะได้รับกัมมันตภาพรังสี บวกกับสาเหตุต่างๆทำให้เธอป่วยด้วยสารพัดโรคมารุมเร้า

จะว่าไปเพื่อนของแม่จขกท.ก็มีลูกที่น่าจะเสียชีวิตทา
อ้อมจากเจ้าเชอร์โนบิลเหมือนกัน เพราะเกิดที่เยอรมันและอยู่ข้างนอกในช่วงที่กัมมันตภาพรังสีพัดมาแถบเยอรมันในช่วงก่อน1ขวบ และป่วยเป็นโรคเลือดเสียชีวิตหลังจากที่ป่วยไม่กี่วัน


จากภาพ คิวบาก็รับเด็กๆที่ได้รับผลกระทบจากรังสีไปรักษา หลายคนต้องรักษามาตั้งแต่เด็กจนเป็นผู้ใหญ่ และคงต่อไปเรื่อยๆ

ความคิดเห็นที่ 103

สารคดี

ความคิดเห็นที่ 104

พักเรื่องเศร้าๆมาถึงเรื่องที่หลายคนอยากรู้และอยากไป

ตามรอยเที่ยวไปในเชอร์โนบิล และ ปรีเปี้ยต

ตอนนี้ประชากรในเขตอันตรายน่าจะมีราวๆ3พันคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพนักงานในโรงงาน จะทำงานเป็นกะ 75%ของพนักงาน จะทำงานกะ4-3 คือ 4วันทำงาน 3 วันหยุด ส่วนอีก25% จะทำงาน15วัน และหยุดอีก15วัน โดยปกติแล้วจะไม่มีใครอาศัยอยู่ ส่วนมากจะอาศัยที่เมืองสลาวูติคแล้วนั่งรถไฟข้ามเบลารุส แล้ววกกลับมาทำงานที่เชอร์โนบิล

คนที่ทำงานต้องได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ส่วนใครจะทำงานหยุดแบบไหนขึ้นอยู่กับสุขภาพของคนเหล่านั้นด้วย


ป้ายเข้าเมืองเชอร์โนบิล

ความคิดเห็นที่ 105

การเข้าไปเที่ยวในเมืองปรีเปี้ยตและเชอร์โนบิล น่าจะเริ่มครั้งแรกจริงๆราวๆปี2001

แต่เริ่มพูดกันในหมู่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตตั้งแต่ปี2004เป็นต้นมาเมื่อ Elena Filatova (ชื่อในเนตKid of Speed และ Gamma Girl)สาวช่างภาพที่ขี่มอไซค์ไปปรีเปี้ยตและเชอร์โนบิล แล้วกลับมาลงรูปเล่าเรื่องราวที่เธอไปดูมา จึงเป็นที่ของคำว่า Chernobyl stalker หรือแอบย่องย่ำเที่ยวเชอร์โนบิล

แต่ภายหลังมีไกด์ทัวร์นามว่าYuri Tatarchuk อ้างว่าเอเลน่านั้นจองทัวร์เหมือนคนอื่นทั่วไป ไม่ได้ขี่มอไซค์ แค่ใส่แจ็กเกตมอไซค์มาเท่านั้น

อย่างไรก็ตามนอกจากนี้กระแสเกมS.T.A.L.K.E.R.: Shadow of Chernobyl และ Call of Duty 4: Modern Warfare ยิ่งทำให้ทัวร์ไปปรีเปี้ยตและกับเชอร์โนบิลยิ่งคึกคัก ก่อนที่คนทั้งโลกกลับมาพูดถึงเมืองนี้อีกครั้งหลังจากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ

ท่อส่งน้ำต้องยกขึ้นเพราะดินปนเปื้อน

ความคิดเห็นที่ 106

สถาปัตยกรรมแบบโซเวียต สังเกตว่าเหมือนพึ่งซ่อมแซมใหม่

ความคิดเห็นที่ 107

มีต่อนะ

ความคิดเห็นที่ 108

แว่นจัง เราแนะนำให้ไปตั้งกระทู้ในหว้ากอนะ กิ๊ฟล้นหลาม คนอ่านล้นเหลิม

ความคิดเห็นที่ 109

ของเราให้กิ๊ฟท์ไม่ได้อะ เป็นมือถือ ฮ่าๆๆ

ความคิดเห็นที่ 110

อยากไปเที่ยวก็ไม่ต้องแอบเข้าไปนะ ไกด์เถื่อนก็ไม่ต้องเชื่อ เสียเงินแล้วจ่ายให้ไกด์ดีกว่า จะเอาตื่นเต้นแอบเข้าไปจะได้แบกรังสีกลับออกมาน่ากลัวยิ่งกว่ามีผีเกาะหลังอีก

สาเหตุที่ไม่ต้องลำบากแอบเข้าไป เพราะตรงทางเข้าเมืองจะมีเช็คพอยท์เพื่อจะรับday pass หากว่าไปโดยไม่มีทัวร์ต้องยุ่งยากมาก ไปกับทัวร์สะดวกกว่าเพราะเขาจัดการให้หมด

แล้วถ้าแอบเข้าไปจับได้เสี่ยงตะรางไม่พอรังสีติดตัวมาอีกยุ่งตาย

มีป้ายเตือนไว้แล้ว

ความคิดเห็นที่ 111

ถ้าจะไปเที่ยวดูหนังแล้วกระหายอยากไปสัมผัสเชอร์โนบิลและปรีเปี้ยตทำไงบ้าง


1มีงบประมาณพร้อมแล้ว
2หาบริษัททัวร์ในกูเกิ้ล
3ติดต่อและ ทำพาสปอร์ต

ที่เน้นคือไปกับทัวร์จะสะดวกในเรื่องทำบัตรผ่านต่างๆให้เนี่ยแหละสำคัญสุด

ที่สะดวกสุด เพราะ เขตที่เราต้องเข้าไปเป็นเขตกักกัน30กิโลเมตร และจะเข้าไปได้ต้องมีบัตรDay Pass และจะให้ง่ายๆไม่ยุ่งยาก เพราะเจ้าหน้าที่อาจไม่ถนัดภาษาอังกฤษ คือ ติดต่อบริษัททัวร์ส่วนใหญ่จะอยู่ในเคียฟให้พาไปเที่ยวจัดรถให้ หาที่พักให้ ติดต่อเรื่องบัตรผ่านให้ง่ายที่สุดแล้ว

ตัวเมืองปรีเปี้ยตอยู่ห่างจากเชอร์โนบิลเพียง3กิโลเมตรเท่านั้น

ส่วนคนที่อยากไปเที่ยวแต่งบไม่มีดูรูปไปแทนก่อน

ในนี้มีแนะนำการท่องเที่ยวอยู่

http://wikitravel.org/en/Chernobyl

checkpoint ทางเข้าเชอร์โนบิล

ความคิดเห็นที่ 112

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ

ความคิดเห็นที่ 113

ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่อยู่ราวๆ150-300 เหรียญสหรัฐ ถูกหน่อยคือไปเป็นกลุ่ม แต่ถ้าอยากไปคนเดียวก็300แพงหน่อย

ตั้งแต่ช่วงปลายปี2011ทางยูเครนได้ออกกฎห้ามไม่ให้รถบัสทัวร์เข้ามาในเชอร์โนบิล จึงมีการปรับให้เป็นกลุ่มเล็กๆแทน ส่วนจะเข้าไปสำรวจอาคาร บ้าน ร้าง ทางการอาจไม่อนุญาตเนื่องจากสภาพชำรุดทรุดโทรมจนอาจจะเกิดอันตรายได้

และต้องขออนุญาตเข้ามาในเขตกักกันก่อน10วัน ส่วนคนที่อยากเข้าไปดูภายในอาคารโรงไฟฟ้ายกเว้นโรงที่เตาหมายเลข4ตั้งอยู่ ก็ต้องไปขออนุญาตอีกรอบ

รูปนี้ลองทายดูว่ารูปอะไรเป็นอาคารที่อยู่นอกโรงไฟฟ้า

ความคิดเห็นที่ 114

กดไลค์ไม่ได้แฮะ ... โฮะๆๆๆ

ความคิดเห็นที่ 115

หลายคนคงอยากไปดูเจ้าเตาหมายเลข4ในเห็นกันเต็มๆตา

คนทั่วไปเข้าใกล้ที่สุดแค่200เมตรจากตัวอาคาร ถ้าอยากเข้าไปข้างในจริงๆจะต้องเป็นนักวิทยาศาตร์ที่ดูแลด้านนี้อยู่ หรือ ถ้าจะไปถ่ายหนังก็ต้องทำเรื่องขออนุญาตอีกที ซึ่งผู้ที่จะเข้าไปคงต้องตรวจสุขภาพและเตรียมเครื่องมือป้องกันเต็มที่

มีง่ายกว่านี้ เป็นศุนย์สำหรับนักท่องเที่ยวมีข้อมูลพร้อมรูปพร้อมและปลอดภัยกว่าในอาคาร

ความคิดเห็นที่ 116

ทัวร์ส่วนใหญ่มักพามาให้อาหารปลาที่ระบบหล่อเย็นหมุนเวียนใต้สะพานรถไฟใกล้อาคารอำนวยการ

ว่ากันว่าปลาตัวใหญ่มาก คงเพราะไม่มีคนจับด้วย หรือไม่ก็มันโดนรังสีหรือเปล่านะ ต้องไปหารูปเก่าๆมาเทียบ

ก่อนหน้าเหตุระเบิดบริเวณนี้เป็นแหล่งตกปลายอดนิยมของชาวเมืองปรีเปี้ยต

ความคิดเห็นที่ 117



ใหญ่มากๆ

ความคิดเห็นที่ 118

ที่เชอร์โนบิลยังมีสถานีรถไฟไว้ขนส่งพนักงานที่อยู่เมืองสลาวูติคมาทำงานในเชอร์โนบิลด้วย ชื่อ Semikhody ถึงแม้จะผ่านเข้าประเทศเบลารุส แต่จะไม่มีการหยุดที่เบลารุส ดังนั้นจึงไม่ต้องใช้บัตรผ่านแดน(Border Pass)และเมื่อลงจากรถไฟแน่นอนมีการตัวสัมภาระ แสกนหารังสีกันอีกด้วย



เริ่มจากสลาวูติค

ความคิดเห็นที่ 119

ทางรถไฟ

ความคิดเห็นที่ 120

สำหรับผู้ที่จะประสงค์เข้าไปชมภายในตัวอาคารโรงไฟฟ้าสามารถส่งจดหมายโดยแฟกซ์ไปถึงผู้อำนวยการดรงไฟฟ้าIgor Gramotkin โดยแนะนำว่ากลุ่มของเราเป็นใคร ทำไมถึงอยากเข้ามาดู และอยากดูอะไรบ้าง
(ถ้าไปทัวร์ ทัวร์คงติดต่อให้)

ก่อนเข้าไปก็จะมีให้เปลี่ยนชุดใส่เป็นชุดสีขาว เปลี่ยนรองเท้า ตรวจรังสี อนุสรณ์ของValery Khodemchuk เป็นวิศวกร(บ้างก็ว่าช่างเครื่อง)ที่ไม่มีคนพบศพ ซึ่งคาดว่าน่าจะโดนระเบิดกัมมันตภาพรังสีเต็มๆ แล้วก็มีพาไปดูห้องควบคุมต่างๆ


ที่ระลึกถึงValeri Khodemchuk

ความคิดเห็นที่ 121

จะเปลี่ยนชุดเป็นแบบเดียวกับที่พนักงานใส่

ความคิดเห็นที่ 122

คลิปนี้อธิบายว่าKhodemchuk เสียชีวีตทั้งเป็นโดยโดนฝังอยู่ในห้องที่เป็นปั้มของเตาหมายเลข4

ความคิดเห็นที่ 123

ปกติช่วงก่อนปี2008 ทัวร์ชอบพาไปเที่ยวหมู่บ้านRossokha ซึ่งเป็นสุสานรถที่ใช้ในการกู้เตาปฏิกรณ์หมายเลข4 ในนั้นจะมีทั้งรถ รถพยาบาล รถบรรทุก หรือแม้แต่เฮลิคอปเตอร์ แต่ช่วงปี2008เป็นต้นมาทั้งรัฐบาลยูเครนห้ามไม่ให้เข้าไปในสุสานรถนี้อีก เนื่องจากว่ายังมีอันตรายจากรังสีในปริมาณสูงอยู่

ทัวร์ก็เลยพาไปดูเรือที่จอดทิ้งไว้ในอู่ต่อเรือและแม่น้ำแทน

สุสานรถที่รอชโชก้า

ความคิดเห็นที่ 124

สุสานเรือก็ยังจอดอยู่ริมแม่น้ำปริเปี้ยต เนื่องจากรังสีสูงเกินไปจนอันตรายที่จะใช้งาน เลยจอดทิ้งอยู่แบบนี้

ดูจากคลิป

ความคิดเห็นที่ 125

และที่ไม่มีทัวร์ใดจะพลาดกับการพาไปชมสวนสนุกร้างที่ดังที่สุดในโลก

prypiat fun park เป็นสวนสนุกที่ทางการเตรียมไว้เปิดเฉลิมฉลองวันแรงงาน ลองนึกย้อนไปถ้าเชอร์โนบิลไม่ระเบิด สวนสนุกนี้คงเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆชาวเมืองเป็นอย่างแน่แท้

สวนสนุกแห่งนี้ตั้งอยู่กลางเมือง และว่ากันวันมีการเปิดให้เล่นในก่อนเตรียมอพยพด้วย

ความคิดเห็นที่ 126

ภาพเพิ่มเติม

http://www.artificialowl.net/search/label/.Ukraine

ความคิดเห็นที่ 127

เรื่องอาหารการกิน ไม่ต้องห่วงเพราะทัวร์มักพาไปกินที่โรงอาหารภายในโรงไฟฟ้า

แต่ถ้าใครมีอาหารติดตัวไปก็ต้องปิดในมิดชิด เพราะถ้าเอามากินกลางแจ้งปิคนิคกันอาจจะได้บริโภครังสีอีกรอบ
ส่วนน้ำก็พกไปจากเคียฟซึ่งมีทั้งน้ำขวดและน้ำแร่ ส่วนแหล่งน้ำทั่วไปของปรีเปี้ยตและเชอร์โนบิลปนเปื้อนรังสี


รูปมื้ออาหารสไตล์ยูเครนในโรงอาหารที่โรงไฟฟ้า นอกจากเจ้าหน้าที่ยังมีนักท่องเที่ยวมาบ่อย

ความคิดเห็นที่ 128

แล้วถ้าอยากค้างทำได้หรือเปล่า

ที่จริงก็ทำได้โดยให้ทัวร์ติดต่อไปที่ ChornobylInterinform Agency Hotel ได้เลย โดยต้องจองล่วงหน้าและวางแผนให้ดี

อาคารที่พักก็ไม่ถึงกับหรูหราแต่ก็ไม่ทรุดโทรมจนเป็นโรงแรมผีสิง เป็นอาคารประกอบสำเร็จตั้งภายหลังเหตุระเบิดดังนั้นก็พอไว้วางใจได้

รูปโรงแรม เขายังมีบริการนำเที่ยวด้วยนะเห็นว่าChernobylInform เป็นองค์กรที่วางแผนและจัดเที่ยวในเชอร์โนบิล

ความคิดเห็นที่ 129

ห้องพักส่วนใหญ่เป็นห้องชุด บางห้องก็ใหญ่กว่าห้องอื่น ถ้าโชคดีหน่อยบางห้องจะมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้เช่น ตู้เย็น โต๊ะกินข้าว โซฟา หรือ จาน ในห้องพักมีห้องน้ำและฝักบัว น้ำก็อกดื่มได้(เพราะใช้น้ำคนละแหล่งกับที่ปนเปื้อน) ไม่มีWi-Fi ไม่มีแอร์

ที่ต้องระวังมากที่สุด คือ แขกของโรงแรมทุกคนห้ามเดินไปไหนมาไหนนอกโรงแรมโดยไม่มีไกด์ตามไปด้วยเด็ดขาด แม้ว่าจะเดินห่างจากโรงแรมไม่เกิน500เมตร เพื่อไปซื้อของก็ตามที เพราะถ้าไปเดินคนเดียวอาจจะโดนตำรวจจับได้

เรื่องอาหารในโรงแรมมีจัดให้ที่ห้องอาหารชั้นล่าง 10เหรียญสหรัฐสำหรับมื้อเที่ยง หรือ มื้อค่ำ สำหรับคนที่จองห้องไว้ แต่ถ้าจะไปสั่งทานเลยราคาสูงกว่านี้แน่ๆ

ห้องอาหารของโรงแรม เสริฟ์อาหารยูเครน

ความคิดเห็นที่ 130

ที่ต้องระวัง คือ การเดินสำรวจในปรีเปี้ยตและเชอร์โนบิล

พวกหญ้า ไลเค่น มอส ต้นไม้ พุ่มไม้ต่างๆก็ยังมีรังสีหลงเหลืออยู่ในปริมาณมาก ดังนั้นอย่าเดินไปไหนสุ่มสี่สุ่มห้าโดยเฉพาะที่มีป้ายปักเป็นสัญลักษณ์รังสี ก็อย่าเข้าไป

การเดินเข้าไปในอาคารส่วนใหญ่ตอนนี้จะห้ามเพราะตัวอาคารหลายแห่งทรุดโทรมลงมาก พวกรังสีก็ยังมีอยู่ตามข้าวของต่างๆ

DUGA-3 เป็นเสาดักจับมิสไซล์ เลิกใช้ปี1989 ตามที่สำคัญในเมืองปรีเปี้ยตยังพบซากหน้ากากกันแก๊สพิษคาดว่าเพื่อป้องกันอเมริกาโจมตีสมัยสงครามเย็น

มีอีกทีหนึ่งแถวๆไซบีเรีย

ความคิดเห็นที่ 131

แถมอีก มีสถาปิกArina Ageeva เชื่อว่าตอนนี้เชอร์โนบิลไม่ใช่สถานที่อันตรายสำหรับคนปัจจุบันต่อไป จึงมีการออกแบบโครงการฟื้นฟูให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีโมโนเรล พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ธรรมชาติ

ตามโครงการฟื้นฟูเชอร์โนบิล http://englishrussia.com/2011/11/04/revitalizing-chernobyl/ ดูต่อตามลิงค์

ความคิดเห็นที่ 132

ข้อมูล/ภาพ แปลและเรียบเรียงจาก

http://felisal.smugmug.com/Other/Chernobyl/15445951_nzKyN/23/1156527518_KVXY6#!i=1156492165&k=sfZhH



http://wikitravel.org/en/Chernobyl

http://en.wikipedia.org/wiki/Chernobyl_disaster

http://englishrussia.com/page/3/?s=chernobyl&x=12&y=5


http://www.abandon.dk/Prypiat_Ukraine/

http://www.flickr.com/photos/vornaskotti/sets/72157624494301854/

http://chornobyl.in.ua/chernobyl-zvezda-polyn.html

http://kiev2010.com/tag/chornobylinterinform/

http://www.firesuite.com/chernobyl-exclusion-zone-page-2-|-cooling-towers-and-the-bridge-of-death.html

http://www.nationalreview.com/corner/265612/remembering-soviet-response-chornobyl-robert-mcconnell#

http://totallycoolpix.com/2011/04/chernobyl-25-years-later-then-and-now/

http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/04/X11949445/X11949445.html

http://www.thetimechamber.co.uk/Sites/Chernobyl/Pripyat/pripyat.php

wikipedia.org

google.co.th

youtube.com

http://forums.filefront.com/s-t-l-k-e-r-soc-general-discussion/379832-my-trip-chernobyl-pictures-56k-ultra-death.html


รูปDay pass

ความคิดเห็นที่ 133

จบแล้วจ้า~

ความคิดเห็นที่ 134

ได้ความรู้แน่นปึ้กเลยครับ ถ้าให้ผมไปก็ไม่กล้าไปครับ กลัวรังสีอ่ะ

ความคิดเห็นที่ 135

ขอบคุณมากๆคะ

ความคิดเห็นที่ 136

ขอบคุณมากค่ะ คุณแว่นจัง.. อยากไปสักครั้งจังเลย.. ^^

ความคิดเห็นที่ 137

ขอบคุณมากๆครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเพียบเลย

ความคิดเห็นที่ 138

ขอบคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 139

สุดยอดอ่านแล้วได้ความรู้ไปเพียบ ขอบคุณมากๆเลยจ้า

ความคิดเห็นที่ 140

holy....crap......- -


Function Used time : 0:0:0:0