เป็นมากกว่าภูติผี แต่คือ วิญญาณ และ ความผูกพัน สัมผัสภูติผีปีศาจไทยผ่านผลงานของ ครู เหม เวชกร   Share

ว่าจะเขียนถึงเรื่องสั้นแนวสยองขวัญของครูเหม เวชกร มานานแล้ว จนกระทั่งตอนนี้ถือเป็นฤกษ์งามยามดี ก็ขอค่อยๆทยอยลงนะ ยุ่งบ้างอะไรบ้างช้าหน่อย ขออภัยด้วย

"เหม เวชกร" ชื่อนี้อาจไม่คุ้นหูนักสำหรับเด็กรุ่นใหม่ แต่สำหรับอีกหลายคนชื่อนี้เป้นชื่อที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจำอย่างมิรู้ลืม ทั้งความสามารถในทางศิลปะแม้ว่าจะไม่ได้จบการศึกษามาทางด้านศิลปะเลย หรือจะเป็นฝีมือในการเขียนเรื่องสั้นแนวสยองขวัญเกี่ยวกับภูติผีไทย จำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยเรื่อง
และอาจถือได้ว่า เขาผู้นี้เป็นบิดาแห่งเรื่องสั้นสยองขวัญแบบไทยๆ ก็ไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงแต่อย่างใด

สาเหตุที่คราวนี้พิมพ์เรื่องครูเหม เวชกร เพราะปกติก็ทั้งฉายหนังหรือลงเกร็ดความรู้เรื่องต่างประเทศมามาก แต่พอเรื่องไทยๆยังไม่ค่อยมี อีกอย่างพึ่งอ่านหนังสือ ตอน ผู้มาจากเมืองมืด รอบที่เท่าไรไม่รู้ อีกรอบ ก็ลองมาลงดู

โดยส่วนตัวรู้จักผลงานของครูเหม เวชกร เมื่อตอนอยู่ม.ปลาย ในช่วงครบ100ปี เหม เวชกร พอดี ปกติโรงเรียนจะมีงานสัปดาห์หนังสือ คือให้คนข้างนอกมาขายหนังสือในโรงเรียน แล้วมีเพื่อนในกลุ่มซึ่งไปเจอหนังสือชุด ภูติผีปีศาจไทย ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์วิริยะเข้า โดยเพื่อนซื้อเรื่อง "ปีศาจของไทย" มา พอได้อ่านรำเพยซีรียส์ก็ติดใจ และเพื่อนก็ให้ยืมอ่าน อ่านกัน 3 คน ประทับใจ กับรำเพยที่ว่า รำเพยจะเป็นของคุณทุกชาติไป~ (ประมาณนี้มั๊งลืมแล้ว)หลังจากนั้นก็ซื้อกันไปคนละเล่มสองเล่ม

นั่งอ่านกันเป็นชมรมผีไปโดยปริยาย และนึกถึงสมัยม.ต้น หนังสือ"นางในวรรณคดี"ของ คุณมาลัย ที่มีผลงานของครูเหม อยู่ ก็รู้ว่าอ้าวคนเดียวกันหนิ หลังจากนั้นก็ตามไล่หาหนังสือชุดภูติผีปีศาจไทยเรื่อยมา เนื่องจากตอนนั้นที่เอามาขายมีไม่ครบชุด (ตอนนี้ก็ยังหาอยู่ใครรู้แล่งบอกได้เลยนะ)และนี่ก็คือจุดที่เรามารู้จักกับหนังสือชุดนี้

โดยก่อนหน้านี้สำนักพิมพ์ดอกหญ้า เคยนำมาพิมพ์ใหม่ ใช้ชื่อว่า "เปิดกรุผีไทย"

ลิงค์ตัวอย่างหนังสือ "นางในวรรณคดี" http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K5346425/K5346425.html

รูปครูเหม เวชกร

ความคิดเห็นที่ 1

http://www.sarakadee.com/2011/08/08/hemwejchakorn/ ประวัติครูเหม ของหนังสือสารคดี

ย่อๆเกี่ยวกับครูเหม คือ หลังจากพ่อแม่แยกทางกัน ครูเหมได้ไปอยู่ในความอุปการะของลุง ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลช่างชาวอิตาเลียนในการสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ในตอนนี้เองที่เขาเริ่มฉายแววในการวาดรูป และได้รับการชี้แนะจากช่างอิตาลีคนดังกล่าว จนเกือบได้ไปเรียนด้านศิลปะต่อที่อิตาลี โดยได้รับคำอนุญาตจากลุง แต่เมื่อพ่อของครูเหมรู้เข้าจึงให้คนลักพาตัวกลับมา ซึ่งส่งผลให้หลังจากนั้นครูเหม หนีออกจากบ้านไปทำงานต่างถิ่น ไม่ว่าไปช่วยญาติทำงานที่ต่างจังหวัด ไปเป็นช่างสร้างเขื่อนพระรามหก ชีวิตตระเวนไปเรื่อยๆ ก่อนจะกลับใช้ชีวิตในพระนครอีกครั้ง

โดยทำงานด้านพิมพ์หนังสือ ขีดๆเขียนๆ เหมือนจะไปได้ด้วยดี แต่ก็ต้องเลิกกิจการทุกครั้งไป ส่วนเรื่องแนวสยองขวัญครูเหมมาเขียนจริงจังช่วงราวๆปีพ.ศ.2510 แล้ว ก่อนจะตีพิมพ์ออกมาขายดิบขายดี โดยในหนังสือเล่มดังกล่าวจะมีรูปภาพประกอบผีมือครูเหมที่น่ากลัวอยู่ด้วย

ความคิดเห็นที่ 2

รูปหนังสือเปิดกรุผีไทย สมัยตีพิมพ์กับดอกหญ้า

ความคิดเห็นที่ 3

ตัวอย่างบางตอน

ความคิดเห็นที่ 4

ส่วนเวอร์ชั่นนี้ของสำนักพิมพ์วิริยะ รวบรวมออกมาในช่วงครบรอบ100ปีของครูเหม เวชกร มีทั้งหมด 5 เล่ม

-ผู้ที่ไม่มีร่างกาย
-ใครอยู่ในอากาศ
-วิญญาณที่เร่ร่อน
-ปีศาจของไทย
-ผู้มาจากเมืองมืด

ความคิดเห็นที่ 5

สำหรับคนที่ไม่เคยอ่านงานเรื่องสั้นแนวสยองขวัญของครูเหมเลย คงสงสัยว่าจะได้อ่านอะไร

สิ่งแรกที่จะได้พบในเรื่องผีเกือบทุกเรื่อง คือ
เรื่องภูติผีในทุกเรื่องของครูเหมไม่ใช่วิญญาณอาฆาต ตามฆ่าคนอย่างโหดเหี้ยมไร้เหตุผล จากคำนิยมโดย จุก เบี้ยวสกุล ซึ่งบอกไว้ว่าจากจำนวนเรื่องผีทั้งหมดกว่าร้อยเรื่องของครูเหม จะมีเพียงแค่2-3เรื่องเท่านั้นที่เป็นผีอาฆาต

นอกนั้นที่เราอ่านเจอจะเป็น เรื่องความรัก ความผูกพัน ที่ผูกยุ่งกันอีรุงตุงนัง โดยอารมณ์จะเป็นแบบในนิยายสมัยก่อน คือ พระเอก-นางเอก รักกันไม่ได้ และพรากจากกันไป มีทั้งในแบบวิญญาณที่รอคอยมาเจอกัน เช่น ตอน ฉันคอยรักที่นี่ หรือ ความรักที่ไม่สามารถเป็นไปได้ เช่น ตอน ใครจะกางกั้น

ยิ่งกว่านั้นความรักแบบแปลก เช่น ในตอนของรำเพยซี่รียส์(เล่มนี้ไม่มี แต่เคยอ่านไปหลายรอบมากๆ) ที่ทำให้เข้าใจว่าความรักไม่ใช่แค่เรื่องยุ่งๆของคนเป็นแต่เพียงฝ่ายเดียว ส่วนอีกเรื่อง คือ สุธีร์ ชายหนุ่มที่เอากระดูกของคนรักติดตัวไป ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่อ่านแล้วคิดสังเวชอีตาสุธีร์มากๆ ที่ใจร้ายคิดแต่ความสุขส่วนตัว แล้วทำให้วิญญาณของหญิงคนรักต้องมาทรมานตอนตายอีก ทั้งที่ตอนเป็นก็ทิ้งให้เขาทรมานมาแล้ว

เรื่องรักๆใครๆแบบคนๆ ผีๆ ที่ยังผูกผันเป็นบ่วงจะเป็นกลิ่นอายโบราณ ใครเคยอ่านงานของนักเขียนยุคเดียวกัน หรือใกล้เคียงกับงานครูเหม จะนึกออก เช่น เรื่องลูกผู้ชาย ของ ศรีบูรพา คือจะมีคำพูด ท่าทาง การวางตัว ที่ไม่สามารถหาได้อีกแล้ว เช่น ตอน คนละทางที่ตัวเอกทั้งสองคบหากันอย่างสุภาพให้เกียรติกัน แม้แต่ตอนที่อีกฝ่ายต้องแต่งงานไป แต่ก็เข้าใจในสิ่งที่เกิด และ หยุดการติดต่อกันไป ทำนองเรารักกันไม่ได้

หรือแม้แต่ตอน บ้านเกิดของอ้ายเรือง ที่โดนผีอีแฟง คนหลายใจ ที่ผีรักเก่ามาร้องเรียกถึงบ้าน

ในจุดนี้ ถือว่างานเขียนในยุคปัจจุบันยังไม่มีใครเขียนได้จับจิตเช่นครูเหมเลย ตอนเศร้าปริ่มใจจะขาดก็ชวนให้สงสาร ตอนโกรธเกลียดก็ชวนให้เข้าใจอารมณ์ตาม

ความคิดเห็นที่ 6

งานหนังสือเดือนตุลาที่จะถึงนี้ว่าจะไปตามเก็บให้ครบชุดเหมือนกัน

ความคิดเห็นที่ 7

ไปหาซื้อหนังสือการ์ตูนชุดนี้ดิ บรื๋อน่ากลัวก็ไม่บอก มีประมาณ4-5ฉบับแล้วเข้าจะเอาเค้าโครงของครูเหมเวชกรมาแต่งเป็นการ์ตูนเพิ่มมุขตลกและดัดแปลงเนื้อเรื่องบางส่วนให้น่าอ่านยิ่งขึ้นไปด้วยลองหาอ่านสิครับ

ความคิดเห็นที่ 8

น่าอ่านอะ จะไปหาที่ไหนได้เนี่ย

ความคิดเห็นที่ 9

ร้านหนังสือ

ความคิดเห็นที่ 10

@มนุษย์หมาป่า ของ ปุ๋ย เดวิล ตามเก็บอยู่แต่ตอนนี้อยากได้ของสำนักพิมพ์วิริยะมากกกกกกก

และที่เด่นมากของหนังสือชุดภูติผีปีศาจไทย ชนิดว่าไม่กล่าวถึงไม่ได้ คือ การบรรยายสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างๆในช่วงยุค 2476-2512 ได้ชัดเจนอย่างมาก โดยไม่ทำให้ผู้อ่านคิดว่าเนื้อหาเยอะเกินไป กลับกลายเป็นเสริมให้เห็นเนื้อเรื่องสนุก กระชับ ในขณะเดียวกันทำให้เข้าถึงอารมณ์ความน่ากลัวได้ด้วย

ในจุดนี้ ส่วนตัวชอบมาก เพราะเรื่องเก่าๆใครมีปู่ย่า ตายาย คงเคยได้ยินเวลาผู้อาวุโสเล่าเรื่องเก่าของกรุงเทพฯหรือประเทศไทยที่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก เช่น พื้นที่กลางเมืองกรุงเทพ แต่เมื่อก่อนมีแต่ทุ่ง หรือแถวประตูน้ำ ในปัจจุบันที่เป็นแหล่งช็อปกระจายเดินกันขาขวิด แต่เมื่อก่อนถือเป็นชานเมือง

ขอยกตัวอย่าง มีตัวละคร ชื่อ เรือง ที่มักจะกินเหล้าอยู่ที่มักกะสัน และเดินทางไปทำถนนที่แถวสนามเป้า ซึ่งใช้วิธีเดิน เนื่องจากสมัยก่อน รถราไม่ค่อยมี ถนนหนทางมีแค่ทุ่งนา เดินตัดทุ่งฉับๆก็คงใช้เวลาซักพัก แต่ยังอยู่ในระยะที่เดินทางสบาย

ด้วยความช่วยเหลือของเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ทราบว่าระยะทางแบบในปัจจุบันอยู่ประมาณ2.5-3.1 กม. อันนี้แล้วแต่เราจะเลือกเส้นทาง ระยะเวลา 30-40 นาที ลองเทียบเล่นๆเมื่อก่อนมีแต่ทุ่งก็อาจะใกล้เคียงประมาณนี้เช่นกัน

ความคิดเห็นที่ 11

รายละเอียดการตัดถนนน่าจะเริ่มในราวๆปี 2479 ถนนที่อ้ายเรือง พี่ใหญ่ และน้าเกื้อ นั้นน่าจะเป็นถนนพหลโยธิน


ลองอ่านรายละเอียด
http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums/http/www.pantip.com/cafe/library/topic/K3056115/K3056115.html

http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2011/11/X11374077/X11374077.html

ความคิดเห็นที่ 12

ยุ่งช่วงนี้เลยไม่ได้มาเขียนต่อ

หลายๆเรื่องคนรุ่นใหม่ก็ไม่รู้จักกันแล้วได้แต่ฟังจากคำบอกเล่าของปู่ย่าตายาย

เช่น รถราง สมัยก่อนที่รถยนต์ยังราคาค่อนข้างสูง นอกจากรถเมล์ขาวนายเลิศ ที่กลายเป็นบริษัทเดินรถโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ ก็ยังมีรถรางที่ต้นสายอยู่ที่อู่เขียวไข่กา บางกระบือ ใครที่เดินทางเข้าเมืองต้องมาขึ้นรถรางต้นทางที่นี่กัน

รถรางในหนังสือครูเหม จะเป็นพาหนะยอดนิยมของคนสมัยนั้นมาก

ความคิดเห็นที่ 13

รถเมล์ขาวนายเลิศ หรือ รถเมล์ขาว ของ พระยาภักดีนรเศรษฐ หรือนายเลิศ เศรษฐบุตร

ความคิดเห็นที่ 14

นอกจากจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนยุคก่อนสงครามโลก-หลังสงครามโลก ครูเหมยังแทรกวิถีชีวิตส่วนตัวลงในหนังสือด้วย

สิ่งที่ทำให้ครูเหม เขียนหนังสือได้ดีไหลลื่น เรื่องผีก็ดูน่ากลัว พอเขียนฉากบรรยายก็เห็นภาพชัดเจน เนื่องจาก ครูเหมตั้งแต่สมัยหนุ่มๆได้ออกร่อนเร่ ทำงานตามต่างจังหวัด ท่องเที่ยว ดื่มเหล้า กินอาหารอย่างง่ายๆ บางครั้งเนื้อเรื่องบางส่วนอาจดัดแปลงจากคนใกล้ชิดก็น่าจะมี

เช่น ตัวละครผู้ชาย ส่วนใหญ่ ฐานะจะปานกลางค่อนไปถึงไม่ค่อยจะมีกิน แต่จะได้รับการเจือจุนจากคนรอบข้าง ต้องระเหเร่ร่อนทำงานหลายที่ หรือ มีอาชีพ ทำหนังสือ และ พิมพ์หนังสือขาย หรือเป็นนักหนังสือพิมพ์

ซึ่งค่อนข้างเกี่ยวพันกับชีวิตครูเหม ที่ต้องไปทำงานไกลถึงกาญจนบุรี เคยทำหนังสือขาย เคยทำบล็อกพิมพ์ ไปใช้ชีวิตอยู่ที่อยุธยา

เรื่องที่บรรยายได้ชัดมาก อีกเรื่องคืออาหารการกิน

เช่น เสียโป หรือ เฉโป ข้าวราคาย่อมเยาของคนเสียพนัน ที่มีเงินไม่มากก็กินอิ่มจนจุกได้ เป็นข้าวที่ใส่เครื่อง 12 อย่าง มีหมูกรอบ หมูแดง เป็ดย่าง กุนเชียงเครื่องใน มีน้ำราดแบบข้าวหน้าเป็ด

http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2009/11/D8513623/D8513623.html

รูปมาจากกระทู้นี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้

ความคิดเห็นที่ 15

ใครทันได้ดู ละคร เรื่อง ผี วิญญาณ และ ความ ผูกพัน บ้าง อยากซื้อเก็บไว้เหมือนกัน

ไปตามดูจนจบได้ตามลิงค์ http://www.youtube.com/playlist?list=PLDA4A66A355AF32A3&feature=plcp

ความคิดเห็นที่ 16

ชอบตอนนี้เหมือนกัน "ผู้ไม่สังคมโลก"

ความคิดเห็นที่ 17

ส่วนเรื่อง "เปนชู้กับผี"วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง กำกับ

เรื่องนี้มาดูทีหลัง ซึ่งถือว่าเป็นหนังที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือครูเหม อย่างแน่นอน ทั้งบรรยากาศบ้านโบราณ เนื้อเรื่องในช่วงยุคประมาณ2470-2480

ฉากต่างๆไม่ว่าจะเป็นที่ผีปีนเสา ผีปอป ความลึกลับในบ้าน หญิงท้องแก่ตามหาผัวดั้นด้นมาไกลจากต่างจังหวัด ตัวละครสติไม่ดี

ส่วนตัวเลยชอบเรื่องนี้มากๆ เพราะขนาดดูตอนกลางวันแสกๆ มือเท้ายังเย็นเลย

ความคิดเห็นที่ 18

สำหรับคนที่ยังไม่เคยอ่าน ก็ขอย้ำอีกครั้งว่าไปหามาอ่าน อย่าพลาดโดยเด็ดขาด

สิ่งที่ทำให้เรื่องผี โดยเฉพาะเรื่องผีครูเหม มีความน่ากลัว และน่าสนใจ คือ รายละเอียดที่แทรกเข้ามาเพื่อบรรยายให้เห็นภาพการใช้ชีวิตของคนยุคก่อน ผีในเรื่องส่วนใหญ่เกิดจากการผูกพัน ทั้งในเรื่องความรัก และหวงในสิ่งที่เคยมีอยู่

และรูปประกอบฝีมือครูเหม จิตรกรมือเทวดาที่วาดภาพประกอบเอง ทั้งหมดนี้ ถ้ายังนึกไม่ออกว่าบรรยากาศจะน่ากลัวสู้ นิยายผีเมืองนอกได้ไหม ลองไปอ่านดู แล้วมาคุยกันในเว็บก็ได้


ขอจบแค่นี้ละกัน

ความคิดเห็นที่ 19

รู้จักครูเหมจากการ์ตูนมหาสนุก วาดเขียนโดยพี่ปุ๋ย

ความคิดเห็นที่ 20

ชอบผลงานของครูเหมเวชกรมากค่ะ ^^


Function Used time : 0:0:0:0